ย้ำ.. ตระหนักได้ แต่อย่าตระหนก พบเสียชีวิตน้อยมาก.. เพียง 5 ราย ในผู้สูงอายุ และผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เตือนโรคไข้นกแก้ว แพร่เชื้อได้ทั้ง นกพิราบ, สุนัข และแมว และนำมาสู่คน จากการใกล้ชิด ผ่านการหายใจ เอาละอองเชื้อเข้าไป ซึ่งผลสำรวจคนร่วมกิจกรรม กว่าร้อยละ 60 ไม่เคยได้ยิน… โรคไข้นกแก้ว
กรมควบคุมโรค โดย สปคม. รณรงค์สร้างการรับรู้การป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ (ไข้นกแก้ว, ไข้หวัดใหญ่ และโควิด 19) ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค มอบหมายให้ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง จัดกิจกรรมรณรงค์ สร้างความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ (ไข้นกแก้ว, ไข้หวัดใหญ่ และโควิด 19) โดย นายแพทย์สุทัศน์ โชตนะพันธ์ ผู้อำนวยการ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค
เปิดเผยหลังร่วมกิจกรรม “รณรงค์การป้องกัน โรคระบบทางเดินหายใจ (โรคไข้นกแก้ว ไข้หวัดใหญ่ โควิด 19)”
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2567 ณ บริเวณชั้น 1 อาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือ หมอชิต 2 กรุงเทพมหานคร นายแพทย์สุทัศน์ โชตนะพันธ์ ผู้อำนวยการ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า จากกรณีพบ การระบาดของ โรคซิตตาโคซิส (Psittacosis) หรือโรคไข้นกแก้ว ในหลายประเทศแถบยุโรป มีผู้เสียชีวิต 5 ราย ในอดีตเคยมีการระบาดใน นกแก้ว แล้วหลายประเทศ เช่น เม็กซิโก, สหรัฐอเมริกา, นิวซีแลนด์, คอสตาริกา, ออสเตรเลีย
ส่วนในประเทศไทย เคยมีการรายงานผู้ป่วยโรคนี้ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2539 จากการวิจัยสำรวจในสัตว์ปีก พบเชื้อที่ทำให้เกิดโรคนี้เช่นกัน แต่พบในอุบัติการณ์ที่ต่ำ ล่าสุดยังไม่พบรายงาน ผู้ป่วยในประเทศไทย ดังนั้น กรมควบคุมโรค ได้ดำเนินการเฝ้าระวัง ผู้ติดเชื้อโรคระบบทางเดินหายใจ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะโรคไข้นกแก้ว พร้อมประสาน ความร่วมมือเฝ้าระวังโรค ทั้งในคน และในสัตว์ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการป้องกันโรคดังกล่าวฯ
กรมควบคุมโรค ได้มอบหมาย สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง จัดกิจกรรมรณรงค์ “การป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ (โรคไข้นกแก้ว, ไข้หวัดใหญ่, โควิด 19) เพื่อสื่อสาร สร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนัก เรื่อง พฤติกรรมการป้องกัน โรคระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจาก บริษัท ขนส่ง จำกัด ให้ความอนุเคราะห์สถานที่ จัดกิจกรรมดังกล่าว โดยกิจกรรม ได้แก่ จัดบูทประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้กิจกรรม เพื่อสร้างความเข้าใจ และความตระหนัก และเผยแพร่ สื่อประชาสัมพันธ์ แผ่นพับการป้องกัน โรคระบบทางเดินหายใจ ข้อควรรู้โรคไข้นกแก้ว และอื่น ๆ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 คน และผลการสำรวจ การรับรู้เรื่อง โรคไข้นกแก้ว ในประชาชนที่มาร่วมกิจกรรม จำนวน 119 คน พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เคยได้ยิน โรคไข้นกแก้ว มาก่อน (ร้อยละ 68.9) รองลงมา เคยได้ยิน (ร้อยละ 31.1) โดยเคยได้ยินจากข่าว และความวิตกกังวล ต่อโรคไข้นกแก้ว มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
นายแพทย์สุทัศน์ กล่าวต่อว่า โรคซิตตาโคซิส (Psittacosis) หรือ โรคไข้นกแก้ว เป็นโรคที่เกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย ที่พบได้ยาก ซึ่งมีนกเป็นพาหะ เช่น นกแก้ว, นกพิราบ และนกคีรีบูน นอกจากนี้ ยังสามารถพบได้ในสัตว์อื่น ๆ ที่มีความใกล้ชิดกับ นกดังกล่าว เช่น สุนัข และแมว โดยคน จะสามารถติดต่อโรคนี้ได้ ผ่านการหายใจ เอาละอองเชื้อเข้าไป จากสารคัดหลั่ง ฝุ่นที่ติดอยู่บนขน และมูลแห้งของนก
กลุ่มเสี่ยง จะเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับนก เช่น สัตวแพทย์, ผู้ช่วยสัตวแพทย์, คนเลี้ยงนก รวมถึงผู้ให้อาหารนก เป็นต้น โดยผู้ติดเชื้อ มักมีการอาการแสดง เพียงเล็กน้อย เช่น ไข้, หนาวสั่น, ปวดหัว, ปวดกล้ามเนื้อ และไอแห้ง ซึ่งผู้ป่วย จะเริ่มมีอาการ 5 – 14 วัน หลังจากได้รับเชื้อ และสามารถรักษาได้ด้วย ยาปฏิชีวนะ
สำหรับผู้ป่วย ที่มีอาการรุนแรง หรือ ผู้เสียชีวิต มักเป็นกลุ่มคนสูงวัย หรือ ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และการพบ ผู้เสียชีวิต สามารถพบได้น้อยมาก ทั้งนี้ ขอแนะนำให้ประชาชน รับฟังข่าวด้วยความตระหนัก รับทราบความเสี่ยงของ ภัยสุขภาพ เพื่อทราบแนวทางป้องกันโรค ไม่ตื่นตระหนกตกใจ หรือ หลงเชื่อข่าวปลอม จากแหล่งข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือ ประชาชนสามารถติดตามข่าวได้จาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
สำหรับการป้องกัน โรคไข้นกแก้ว สามารถทำได้ง่าย โดยประชาชน ควรหลีกเลี่ยงใกล้ชิดกับสัตว์ป่วย หากจำเป็นต้องสัมผัส ต้องป้องกันตนเอง สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ และหลังจากสัมผัสสัตว์แล้ว ล้างมือให้สะอาด ด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้เลี้ยงนก, สัตวแพทย์ หรือ บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับนก หมั่นสังเกตอาการตนเอง และอาการของสัตว์อยู่เสมอ หากมีอาการไข้ รวมถึงอาการทาง ระบบทางเดินหายใจ ให้รีบพบแพทย์ พร้อมแจ้งประวัติเสี่ยง เพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง สามารถสอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร.1422
นอกจากนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ กรมควบคุมโรค เฝ้าติดตามสถานการณ์ “โรคไข้นกแก้ว” ในยุโรป เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567 โดย นายแพทย์วีรวัฒน์ มโนสุทธิ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ และ โฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีพบ การระบาดของ โรคซิตตาโคซิส หรือ โรคไข้นกแก้ว ในหลายประเทศแถบยุโรป ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 5 ราย โดยพบเชื้อในนก, สัตว์ปีกในป่า และสัตว์เลี้ยงหลายชนิดว่า โรคไข้นกแก้ว (Psittacosis) ไม่ใช่โรคติดต่ออุบัติใหม่ สามารถรักษาด้วย ยาปฏิชีวนะได้ เชื้อนี้ มักก่อโรคในนก ที่เป็นสัตว์เลี้ยง รวมถึง นกแก้ว ในอดีตเคยมีการระบาดใน นกแก้ว แล้วหลายประเทศ เช่น เม็กซิโก, สหรัฐอเมริกา, นิวซีแลนด์, คอสตาริกา, ออสเตรเลีย
นายแพทย์วีรวัฒน์ กล่าวต่อว่า โรคซิตตาโคซิส (Psittacosis) หรือ โรคไข้นกแก้ว เป็นโรคที่เกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย ที่พบได้ยาก ซึ่งมี นกเป็นพาหะ เช่น นกแก้ว, นกพิราบ และนกคีรีบูน นอกจากนี้ ยังสามารถพบได้ในสัตว์อื่น ๆ ที่มีความใกล้ชิดกับ นกดังกล่าว เช่น สุนัข และแมว โดยคนจะสามารถติดต่อโรคนี้ได้ ผ่านการหายใจ เอาละอองเชื้อเข้าไป จากสารคัดหลั่ง ฝุ่นที่ติดอยู่บนขน และมูลแห้งของนก โดยคนกลุ่มเสี่ยง จะเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับนก เช่น สัตวแพทย์, ผู้ช่วยสัตวแพทย์, คนเลี้ยงนก รวมถึงผู้ให้อาหารนก เป็นต้น
โดยผู้ติดเชื้อ มักมีการอาการแสดง เพียงเล็กน้อย เช่น ไข้, หนาวสั่น, ปวดหัว, ปวดกล้ามเนื้อ และไอแห้ง ซึ่งผู้ป่วย จะเริ่มมีอาการ 5 – 14 วันหลังจากได้รับเชื้อ และสามารถรักษาได้ด้วย ยาปฏิชีวนะ สำหรับผู้ป่วย ที่มีอาการรุนแรง หรือ ผู้เสียชีวิต มักเป็นกลุ่มคนสูงวัย หรือ ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และการพบผู้เสียชีวิต สามารถพบได้น้อยมาก
ข้อมูลจาก :
+ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค
ข่าว: กรมควบคุมโรค โดย สปคม. รณรงค์สร้างการรับรู้ การป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ (ไข้นกแก้ว, ไข้หวัดใหญ่ และโควิด 19) ณ สถานีขนส่ง ผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
https://ddc.moph.go.th/uploads/files/4150120240312065356.pdf
+ กองโรคติดต่อทั่วไป/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
นอกจากนี้ Backbone MCOT ได้รวบรวมข้อมูลความรู้ โรคไข้นกแก้ว จากเว็บไซต์ กรมควบคุมโรค ซึ่งได้จัดทำเป็นรูปภาพ ที่อธิบายถึงการรับมือโรคดังกล่าว วิธีการป้องกันตนเอง แนวทางการเฝ้าระวัง รวมถึง อาการส่วนใหญ่ที่พบในผู้ป่วย มาแนะนำ (คลิกดู หรือเลือกดาวน์โหลด ได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้)
+ ข้อน่ารู้ โรคไข้นกแก้ว
https://datariskcom-ddc.moph.go.th/download/ข้อน่ารู้-โรคไข้นกแก้ว/
+ รับมือโรค PSITTACOSIS โรคไข้นกแก้ว โดย กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
https://datariskcom-ddc.moph.go.th/download/รับมือโรค-psittacosis-โรคไข้นกแก้/
#BackboneMCOT
อ้างอิง และขอบคุณข้อมูล จาก :
เฟซบุ๊ก : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/100068069971811
เว็บไซต์ : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://ddc.moph.go.th
เฟซบุ๊ก : กดดู รู้โรค by กรมควบคุมโรค
https://www.facebook.com/RISKCOMTHAI
เว็บไซต์ : สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ (สสพ.)
https://datariskcom-ddc.moph.go.th
เว็บไซต์ : สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
https://www.thaihealth.or.th