เผยแพร่: 13 ต.ค. 2566 68
สองผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ออกมาเปิดเผยความรู้ทำอย่างไรให้ในยามบั้นปลายมีสุขภาพ-คุณภาพชีวิตดี ต้องรู้ทันโรค-อุปสรรค เช็กที่นี่!
.ads-billboard-wrapper{display:flex;min-height:250px;align-items:center;justify-content:center}
อัตราการการเกิดลดลง สวนทางกับผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อโครงสร้างทางสังคมไม่สมดุล ย่อมทำเกิดปัญหา แน่นอนว่าเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญของประเทศที่ต้องช่วยกันจับตามอง แต่ไม่ใช่แค่ที่ไทยเท่านั้น ยังเป็นไปทั่วโลกอีก การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุจึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ ทาง บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) (BDMS) อยากให้ทุกคนหันมาสนใจกัน
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อรรถ นานา รองผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายแพทย์กลุ่ม 1 BDMS รองประธานการจัดงาน BDMS Academic Annual Meeting 2023
ย้อนดู “ปัญหาเด็กเกิดน้อย” ฟังเสียงวงเสวนาสวัสดิการถ้วนหน้าทำได้หรือไม่
เด็กเกิดน้อยลง… ต้องเน้น “คุณภาพ”
และ นายแพทย์ไพศาล เลิศฤดีพร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายแพทย์ กลุ่ม 1 BDMS รองประธานการจัดงาน BDMS Academic Annual Meeting 2023 ได้ออกมาให้ความรู้กับทุกคนเพื่อเตรียมตัวกันก่อนเข้าสู่ช่วงสูงอายุผ่านรายการ “Rise & Shine ชีวิตดีเริ่มที่ตัวเรา ซีซัน 3” เพราะการจะมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดียามบั้นปลายอยู่ที่การดูแลตั้งแต่เนิ่น ๆ
การมีชีวิตที่ดีจะต้องมองตั้งแต่การฟอร์มครอบครัว เมื่อมีลูกอยู่ในท้องจะดูแลลูกอย่างไรให้ปลอดภัยจนถึงเวลาคลอด และเมื่อคลอดแล้ว จะดูแลอย่างไรให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะหากเด็กมีพัฒนาการที่ดี ก็จะทำให้เราได้ผู้ใหญ่ที่ดี
ผู้สูงอายุ คือ
ผู้สูงอายุ คือ คนธรรมดาที่มีอายุมากขึ้น และการจะดูแลผู้สูงอายุจะต้องใช้องค์ความรู้เฉพาะด้าน “อายุรศาสตร์ปัจฉิมวัย” เป็นองค์ความรู้ที่เฉพาะกับคนกลุ่มนี้
สูงวัยอย่างไรให้มีสุขภาพ-คุณภาพชีวิตดี
เมื่อเราเกิดมา พอถึงอายุจุดนึง อวัยวะของร่างกายจะเสื่อมลงตามอายุขัยเป็นธรรมดา แต่วิวัฒนาการและความรู้ในปัจจุบันที่พัฒนาและก้าวหน้า ทำให้เราพบว่า ความเสื่อมสามารถชะลอได้ ตอนนี้เราถึงได้เห็นว่าคนวัย 60 ปีก็ยังวัยรุ่นได้
ตอนนี้เราจะเห็นว่าคนอายุ 60-70 ปีก็ยังออกไปท่องเที่ยวทั่วโลก และปีนเขาได้ บางคนก็ไปมาราธอน 10 กิโลเมตรได้ แล้วในเมื่อทุกคนต้องเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่เราจะยืนอยู่ตรงไหน เราจะใช้ชีวิตแบบเดิม ๆ หรืออัปเดตองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่มีมาตลอด แต่ใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพดีมากขึ้น
ปัจจุบันเรามีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยตรวจเช็กร่างกายของเรามากมาย ทั้งการตรวจเช็กเลือดเพื่อหาความเสี่ยงทางพันธุกรรม การตรวจร่างกายหรือการตรวจเลือดประจำปี
สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราพบสิ่งผิดปกติได้ รักษาตัวได้เร็ว และยังช่วยป้องกันโรคได้ด้วย เป็นแนวทางที่ทำให้กลายเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตดี
อุปสรรคของผู้สูงอายุ
ส่วนใหญ่มักยังไม่รู้จักตัวเอง บางคนอาจไปพบแพทย์ครั้งสุดท้ายเมื่อ 5 ปี หรือ 7 ปีก่อน ดังนั้นเราจึงอยากให้ทุกคนหมั่นมาเช็กสุขภาพกัน จะได้รู้ตัวไว ข้อดีคือ หากยกตัวอย่างว่าเราเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน จากที่จะมีอาการเบาหวานตอน 50 ปี ก็จะไปเป็นตอน 70 ปี
ขณะที่เรื่องการกระจายความรู้จากบุคลากรการแพทย์ เป็นอุปสรรคต่อการดูแลผู้สูงอายุไม่แพ้กัน เพราะแพทย์จะต้องย่อยเรื่องยากให้เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย ผู้สูงอายุจะได้ดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง และที่สำคัญแพทย์ต้องมีทัศนคติที่ดีด้วย เพราะการมีทัศนคติที่ดีจะช่วยให้เขารับความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
ส่วนอีกเรื่องคือ การนำไปใช้ ถ้ามีความรู้แล้วไม่นำไปใช้ สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นเพียงกระดาษหรือชุดความคิด ถ้าทุกคนนำไปใช้แล้วเห็นผลกับตัวเอง แน่นอนว่าสิ่งที่คุณแชร์ได้คือความแข็งแรง
ทั้งนี้ ทาง BDMS จะมีการจัดการประชุมวิชาการประจำปี 2566 ภายใต้คอนเซปต์ A Road to Lifelong Well-Being ผู้ที่สนใจโดยเฉพาะบุคลากรทางด้านสาธารณสุขทุกแขนงที่อยากรู้เส้นทางของการมีสุชภาพดีอย่างยืนยาวสามารถเข้าไปร่วมงานครั้งนี้กันได้ในวันที่ 30 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2566 โดยลงทะเบียนและติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ www.bdmsannualmeeting.com
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : รายการ Rise & Shine ชีวิตดีเริ่มที่ตัวเรา ซีซัน 3
ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ
PPSHOP