เผยแพร่: 14 ต.ค. 2566 4
ผลวิจัยชี้คนเมืองกรุงมีพฤติกรรมเนือยนิ่งสูงถึงร้อยละ 79 แนะหยุดการใช้จอเป็นระยะ และหันมาขยับให้มากขึ้น รวมทั้งเสนอให้มีการส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน
.ads-billboard-wrapper{display:flex;min-height:250px;align-items:center;justify-content:center}
นายแพทย์มณเฑียร คณาสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า กรมอนามัยได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ศึกษาวิจัย เรื่อง รูปแบบและความสัมพันธ์ของการมีกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่ง (การนั่งนาน) ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 3,137 คน พบว่า คนกรุงเทพมหานครมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ร้อยละ 83 แต่ยังพบมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ร้อยละ 79
วิจัยเผย“ความเครียด”ก่อโรคหัวใจสูง 70 % เสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
วิธีรับมือกับปัญหารุมเร้า-ภาวะเครียดสะสม ก่อนกระทบสุขภาพจิต
ในทางกลับกัน การมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพื่อสุขภาพที่ดี คือกิจกรรมทางกายเพียงพอและพฤติกรรมเนือยนิ่งต่ำ ของคนกรุงเทพมหานคร มีเพียงร้อยละ 18 เท่านั้น
ทั้งนี้ สาเหตุของพฤติกรรมดังกล่าว ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากความเร่งรีบในวิถีชีวิต การนั่งทำงานประจำ และการใช้อุปกรณ์จอ ทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ แทบเล็บ การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ และการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งสูงเป็นประจำส่งจะผลเสียต่อสุขภาพประชาชน อาทิ การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มะเร็ง เป็นต้น รวมทั้งการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ให้คำแนะนำสำหรับการมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ คือ การขยับร่างกายระดับปานกลางถึงหนัก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ และลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง คือ นั่งให้น้อยที่สุดในแต่ละวันเท่าที่สามารถทำได้
กรมอนามัยได้มีนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประชาชนทุกกลุ่มวัยในรูปแบบต่างๆ พร้อมทั้งจัดทำแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ.2561 – 2573 ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเขตเมือง กรมอนามัยแนะนำให้จัดกิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่งทั้งในเวลาทำงานและเวลาว่าง หยุดหรือลดการใช้จอเป็นระยะ ๆ เช่น การใช้โปรแกรมเตือนเมื่อใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน
หิวดึกบ่อย! เสี่ยง Night Eating Syndrome พฤติกรรมเกี่ยวข้องซึมเศร้า
รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการขยับร่างกายและมีกิจกรรมทางกายด้วยการออกแบบเมืองให้ประชาชนเข้าถึงรถโดยสารสาธารณะ หรือสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะร้านอาหาร ร้านค้า หรือสวนสาธารณะได้สะดวกมากขึ้นด้วยการเดิน เพื่อให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นในชีวิตประจำวัน กรมอนามัยยังคงยึดหลักการจากองค์การอนามัยโลก คือ ทุกการขยับนับหมด (every move counts) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีร่างกายที่แข็งแรงและมีสุขภาพดี
ข้อมูลจาก : กระทรวงสาธารณสุข
ภาพจาก : shutterstock
ซึมเศร้าจากไทรอยด์เป็นพิษ งานวิจัยเผยเกิดในเพศหญิงมากกว่าชายหลายเท่า
“ซึมเศร้า” สัญญาณ-ประเภท ส่งต่อผ่านทางพันธุกรรมได้หรือไม่?
ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ
PPSHOP