“เทศกาลกินเจ 2566” ถือเป็นงานใหญ่ที่คนไทยหลายคน ไม่เพียงแต่คนไทยเชื้อสายจีนเท่านั้น ต่างก็ร่วมกันถือศีลกินเจ โดยถือโอกาสนี้เป็นโอกาสที่ดีที่จะลดการเบียดเบียนสรรพสัตว์ ทำบุญถือศีล หวังสร้างอานิสงส์ให้กับตัวเอง หรือบ้างก็ทำเพื่อประโยชน์สุขภาพ
แม้ว่าจุดเริ่มต้นความเชื่อของเทศกาลกินเจในไทย ที่นิยมเล่าต่อกันมาจะมาจากชาวจีนโพ้นทะเลที่ทำเพื่อประโยชน์ทางศาสนา สักการบูชาพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้ง 9 พระองค์ ดูเป็นเรื่องที่ไม่อาจจับต้องได้
เทศกาลกินเจ 2566 เริ่มวันไหน มีข้อปฏิบัติและข้อห้ามอย่างไร?
“เทศกาลกินเจ 2566” เฉลยข้อสงสัยทำไมไม่มีในประเทศจีน
รวมที่เที่ยว “เทศกาลกินเจ 2566” อิ่มบุญอิ่มท้องทั่วไทย
และในเมืองจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่อถูกเปลี่ยนผ่านการปกครองมาเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ทำให้วัฒนธรรมเหล่านี้ค่อย ๆ ถูกลืมเลือนหายไป
แต่เมื่อมีผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย นี่ก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เทศกาลกินเจยังคงเป็นที่นิยมสืบเนื่องต่อมากันภายในประเทศไทย เพราะหากไม่รับรวมเรื่องความศรัทธาทางศาสนาแล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในทางสุขภาพ
เทศกาลกินเจภายในประเทศไทยจึงถูกจัดอย่างยิ่งใหญ่ไม่น้อยในช่วงเดือนตุลาคมของไทยทุกปี โดยยึดถือเอาธรรมเนียมปฏิบัติจากชาวจีนโพ้นทะเลที่เข้ามาภายในประเทศมาผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น และจัดให้วันแห่งการถือศีลกินเจนั้น ตรงกับวันจันทรคติ 1 ค่ำ ไปจนถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนดั้งเดิม
ทุกช่วงกินเจเราจึงมักเห็นบรรยากาศของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติที่อยากมาร่วมกิจกรรมถือศีลกินเจกันอย่างหนาแน่น โดยเฉพาะที่ “เยาวราช” ซึ่งปีนี้จัดงานเทศกาลกินเจขึ้นตั้งแต่วันที่ 14-23 ตุลาคม 2566 ณ บริเวณซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ถนนเยาวราช
ในปีนี้ “เยาวราช” จัดงานภายใต้แนวคิด “ใจบริสุทธิ์ สุขภาพดี มีมงคล” เพื่อให้ประชาชนได้สักการะและขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วทั้งเยาวราชที่อัญเชิญมาไว้ในมณฑลพิธี รักษาและดำรงไว้ซึ่งประเพณีถือศีลกินเจเยาวราชที่จัดขึ้นอย่างสมเกียรติและยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี ตลอดจนเพื่อให้ประชาชนได้รับประทานอาหารเจที่สะอาด ถูกหลักอนามัยและปลอดภัย
ก่อนเริ่มเทศกาลอย่างเป็นทางการ ในช่วงบ่ายวันที่ 14 ตุลาคม 2566 คณะกรรมการวัดโลกานุเคราะห์ ผลิตผล (ซุนยัดเซ็น) เขตสัมพันธวงศ์ ได้อัญเชิญเทพเจ้า “กิวอ๋อง ฮุกโจ้ว เต้าบ้อเนี้ย น้ำซิ้ง ปั๊กเต้าแชกุง” บนเกี๊ยว เพื่อไปประดิษฐานที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ โดยขบวนแห่เริ่มต้นจากวัด ผ่านถนนเจริญกรุง ถนนเยาวราช ซึ่งมีประชาชนและนักท่องเที่ยวช่าวต่างชาติมาร่วมชมขบวนอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง พร้อมอธิษฐานขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
ขณะเดียวกันร้านอาหารบริเวณนั้น ได้เริ่มเปิดขายอาหารเจทั้งคาวและหวาน 100 กว่าร้านเพื่อให้ประชาชนรวมทั้งนักท่องเที่ยวที่ร่วมชมขบวนแห่ หรือตั้งใจจะล้างท้องก่อนวันกินเจได้มาเลือกซื้อกัน ถือเป็นสีสันที่เปิดกว้างให้ผู้ที่อยากลองกินเจได้มาลิ้มรสกันอีกด้วย
ต่อมา ก็มาถึงวันเริ่มต้นกิจกรรมแรกอย่างเป็นทางการ ในเย็นวันที่ 15 ตุลาคม 2566 เยาวราชได้จัดพิธีเปิดอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งจะมีขบวนแห่รถบุปผชาติองค์สมมติพระโพธิสัตว์กวนอิม ขบวนสิงโต มังกร ขบวนเทิดพระเกียรติ และขบวนจากผู้สนับสนุนที่พร้อมใจกันพาเหรดเพื่อประเพณีงานเจ เยาวราช 2566 ตั้งแต่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติฯ เยาวราช-ถนนเยาวราช-แยกราชวงศ์-แยกเสือป่า-ถนนเจริญกรุง และสิ้นสุดที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติฯ เยาวราช
ทั้งนี้ ขบวนแห่รถบุปผชาติองค์สมมติพระโพธิสัตว์กวนอิม จัดเป็นไฮไลท์สำคัญของ “เทศกาลกินเจ เยาวราช 2566” ที่มีพิธีกรรมที่น่าสนใจคือการคัดเลือก “องค์สมมติพระโพธิสัตว์กวนอิม” ที่มีจุดเริ่มต้นการคัดเลือกมาตั้งแต่ปี 2553 โดยการตั้งคณะกรรมการเป็นผู้คัดเลือกผู้สมัครให้ตรงตามกับคุณสมบัติทั้ง 12 ข้อ จากนั้นจะเป็นการจัดพิธีเสี่ยงทายองค์สมมุติพระโพธิสัตว์กวนอิม รูปแบบการเสี่ยงทายจะคล้ายกับการเซียมซี ผู้ที่เสี่ยงทายได้เท่ากับว่าคือผู้ที่เทพเจ้าเลือกให้มาเป็นองค์สมมติเจ้าแม่กวนอิมในปีนั้น และยังเป็นเกียรติแก่ชื่อเสียงและวงศ์ตระกูลของผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นองค์สมมติพระโพธิสัตว์กวนอิมด้วย
สำหรับคุณสมบัติทั้ง 12 ข้อ ก่อนจะมาเป็นองค์สมมติพระโพธิสัตว์กวนอิม ที่ระบุไว้ในเพจ Chinatown Yaowaraj มีดังนี้
1.) ต้องเป็นหญิงสาวพรหมจรรย์
2.) เป็นชาวไทย หรือชาวไทยเชื้อสายจีน มีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล
3.) อายุ 18-25 ปี (เกิดระหว่างปี 2540-2547)
4.) สูงไม่ต่ำกว่า 158 เซนติเมตร
5.) มีความพร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมกับคณะกรรมการจัดงานในการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
6.) ต้องไม่เคยเป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นองค์สมมติฯ มาก่อน
7.) ต้องรับการรับรองความประพฤติจากผู้ปกครองและสถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่
8.) ไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมหรือประกอบอาชีพผิดกฎหมาย หรือมีความประพฤติอันเป็นที่รังเกียจของสังคม เช่น ถ่ายภาพนิ่ง วิดีโอ หรือการโชว์เรือนร่างในลักษณะอื่นใดอันจะนำความเสื่อมเสียมาสู่ตำแหน่ง โดยให้พิจารณาจากภาพถ่าย หรือวิดีโอ ที่ส่อไปทางลามกอนาจาร
9.) หลังจากได้รับคัดเลือกแล้ว ห้ามมิให้ผู้สมัครเข้าไปประกวดในรายการอื่นๆ จนกว่าจะหมดวาระหน้าที่ในเทศกาลกินเจ
10.) ในระหว่างเป็นองค์สมมติฯ จะต้องปฏิบัติตนตามข้อตกลงหรือวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการ หากไม่ปฏิบัติตาม หรือมีความประพฤติไม่เหมาะสม คณะกรรมการสามารถคัดออกได้ทันที
11.) ผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นองค์สมมติฯ จะต้องถือศีลกินเจตั้งแต่วันได้รับคัดเลือกไปจนถึงสิ้นสุดเทศกาลกินเจ
12.) ผู้สมัครต้องได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 มาแล้วอย่างน้อย 2 เข็มขึ้นไป (วันที่ 15 ตุลาคม 2566)
ทั้งหมดนี้ต่างเป็นมนต์เสน่ห์ของวัฒนธรรมไทยจีนที่สืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน พลังศรัทธาอันแรงกล้าประกอบกับการทำให้เรื่องการกินเจเป็นเรื่องง่ายที่ทุกคนสามารถมาชม มาลิ้มลองกันได้ เทศกาลนี้จึงกลายเป็นกิจกรรมที่ชาวต่างชาติต่างอยากมาเชยชม ขณะที่คนไทยต่างก็รอคอย ถือว่าโอกาสนี้เป็นความสุขใจที่จะได้ร่วมทำบุญใหญ่ไปพร้อมกับหลาย ๆ คน แถมยังรักษาสุขภาพได้อีกด้วย
ส่องความเชื่อ “เทศกาลกินเจ 2566” เกี่ยวอย่างไร กับ “พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม”
เทศกาลกินเจ 2566 ทำไมต้องกินเจ 9 วัน แต่ละวันมีความหมายอย่างไร?
บทสวดมนต์กินเจ 2566 บูชาขอพรองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม
TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด