เผยแพร่: 24 ต.ค. 2566 321
จากกรณีเมื่อวานนี้ (23 ตุลาคม 2566 ) นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ถูกส่งเข้าห้องผ่าตัดออร์โธปิดิกส์ และพักฟื้นอยู่ที่ห้อง ไอ ซี ยู NICU ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการแจง หนึ่งในโรคประจำตัวว่า พบกระดูกสันหลังเสื่อมหลายระดับ และมีอาการปวดเรื้อรังการทรงตัวผิดปกตินั้น ชวนรู้จัก ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ หรือ “หมอกระดูก” และเทคโนโลยีการรักษากระดูกและข้อในปัจจุบัน
.ads-billboard-wrapper{display:flex;min-height:250px;align-items:center;justify-content:center}
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ หรือ ออร์โธปิดิกส์ Orthopedic Surgery or Orthopaedic และยังมีอีกหลายชื่อที่จำได้ง่ายและเชื่อว่าหลายคนคุ้นหู คือศัลยแพทย์กระดูกและข้อแพทย์กระดูกและข้อ หรือ หมอกระดูก วงการแพทย์ไทยเรียกสั้นๆ ว่า หมอออร์โธฯ เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชาศัลยศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่าง ๆ ของร่างกายโดยทำการวินิจฉัยและดูแลรักษาด้วยการให้ยาหรือการผ่าตัด
“ทักษิณ” ผ่าตัดเสร็จสิ้น พักห้องไอซียู ราชทัณฑ์สั่ง ผบ.เรือนจำตรวจเยี่ยม
รู้จัก 4 โรคประจำตัว “ทักษิณ” หลังราชทัณฑ์รับตัวเข้าเรือนจำ
ศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ ทำไมจึงสำคัญ ?
โรคทางออร์โธปิดิกส์ในปัจจุบันมีปริมาณมากขึ้น จากการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย และปัจจัยการใช้ชีวิตต่างๆ โดยเฉพาะเพศหญิงที่ต้องเผชิญกับภาวะกระดูกบางมากกว่าเพศชาย จึงเป็นหน้าที่ของแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษากระดูกและข้อต่าง ๆ ที่มีลักษณะโก่งหรือผิดรูป แตกหัก ครอบคลุมไปถึงความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ เส้นประสาท และกระดูกสันหลัง ที่ต้องหาแนวทางชะลอความเสื่อมทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทุกข์ทรมาน ด้วยการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ต้องถูกต้องแม่นยำ ตั้งแต่การลงทะเบียนซักประวัติผู้ป่วยไปจนถึงการติดตามผลการรักษาหลังผ่าตัด เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือ ให้ผู้ป่วยหายจากการเจ็บปวด สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ดีและมีคุณภาพชีวิตดังเดิม ส่วนการเลือกสรรวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ก็เป็นสิ่งที่เรายึดมั่น เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยกระดูกและข้อแบบองค์รวมเป็นไปตามมาตรฐานสากล ลดการผ่าตัดโดยไม่จำเป็น เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการ
ออร์โธปิดิกส์มีอะไรบ้าง ?
ทางการแพทย์ได้จำแนกโรคออร์โธปิดิกส์ ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- Non Traumatic Orthopaedics เป็นโรคของกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อ เอ็น และเส้นประสาทที่ซึ่งไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บ เช่น วัณโรคกระดูกและข้อ โรคข้ออักเสบชนิดต่างๆ โรคปวดหลัง และ พิการแต่กำเนิด เป็นต้น
- Traumatic Orthopaedics เป็นโรคที่เกิดจากการบาดเจ็บ ได้รับการกระทบ กระแทก หรือเกิด อุบัติเหตุ ได้แก่ กระดูกหัก ข้อเคล็ด ข้อเคลื่อน ข้อแพลง กล้ามเนื้อและเอ็นฉีกขาด เส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ละเอียดยิ่งขึ้น ส่งผลให้การรักษาและการผ่าตัดมีความแม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการรักษามากขึ้น ซึ่งการตรวจวินิจฉัยและเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย มีดังนี้
- เอกซเรย์ระบบดิจิตอล (Computed Radiography: CR)
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography: CT)
- เอกซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI)
- ตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อและเส้นประสาท (Electrodiagnosis: EMG, NCV)
- ตรวจภายในข้อโดยการส่องกล้อง (Arthroscopic Examination)
- การตรวจร่างกายร่วมกับการใช้เครื่องเอกซเรย์ (Examination under Fluoroscopy)
- ตรวจมวลกระดูก เพื่อดูภาวะกระดูกพรุน(Bone Mineral Density: BMD)
- ตรวจเลือดเพื่อหาค่าการสลายกระดูก การสร้างกระดูก และระดับวิตามินดี
เปิด 4 กลุ่มผู้ต้องขังส่งตัวรักษานอกเรือนจำ-เงื่อนไขส่งต่อรพ.เอกชน
เทคโนโลยีผ่าตัดรักษากระดูกและข้อ เจ็บปวดน้อยลง ฟื้นตัวได้เร็ว
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบแผลเล็ก (TKA QS) และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าโดยระบบคอมพิวเตอร์นำวิถี (CAS) IR การผ่าตัดโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หรือที่รู้จักในแบบที่เรียกว่าเลเซอร์นำวิถีในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ ทำให้การผ่าตัดแม่นยำมากขึ้น ช่วยลดอาการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อ แผลมีขนาดเล็กลง ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วหลังการผ่าตัด
- Drilling and Cementing: เจาะรูแล้วฉีด Cement เข้าไปในกระดูกสันหลัง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกสันหลัง
- Endoscopic Surgery: การผ่าตัดผ่านกล้องผ่าตัดหมอนรองกระดูกที่แตกทับเส้นประสาทออกโดยใช้การเจาะรู
- Minimal-Invasive Steel Implant Surgery: การผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูกแบบแผลเล็ก
- Vertebral Dise Replacement Surgery: การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังเทียม
อย่างไรก็ตามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาการรักษาทางเลือกและฟื้นฟูให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและให้กลับมาใช้ชีวิตให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีความผิดปกติเช่นปวดข้อหรือกระดูกตลอดเวลา ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพราะการรักษาโรคไม่ว่าจะร้ายแรงแค่ไหนหากเจอในระยะต้นจะช่วยให้เพิ่มอัตราการหายขาดได้ ทั้งนี้กลุ่มเสี่ยงและสูงอายุควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ,โรงพยาบาลเปาโล,โรงพยาบาลบ้านผือและสมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย
ภาพจาก : freepikและshutterstock
อาการข้ออักเสบระยะแรก รู้ก่อนลดภาวะแทรกซ้อนกระดูกผิดรูป-เสียชีวิต
“เวอร์ติโบรว์พลาสตี้”รักษากระดูกสันหลังหัก-ทรุดหรือผิดรูปจากกระดูกพรุน
ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ
PPSHOP