เป็นที่ทราบกันดีว่า โลกเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society) โดยกลุ่มผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ในหลายประเทศ เพิ่มสัดส่วนขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เป็นมากกว่า 20% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ
ซึ่ง องค์การสหประชาชาติ (UN)คาดว่า ภายในปี 2593 ผู้สูงอายุทั่วโลก อาจมีมากถึง 1.6 พันล้านคน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า จากปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ 783 ล้านคนเท่านั้น ขณะทวีปเอเชีย นำโดย ฮ่องกง เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น
ส่วนประเทศไทย มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะนี้อย่างเต็มตัว ในปี 2573 หลังคาดว่า คนสูงวัย ในไทย จะขยับไปอยู่ที่ 15.3 ล้านคน และในช่วงปี 2593 อาจสูงถึง 21.4 ล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของ อาเซียน รองจากสิงคโปร์ เท่านั้น
ล่าสุด Krungthai COMPASS ออกบทวิเคราะห์เกี่ยวข้อง ประเมินว่า การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุทั่วโลก จะทำให้ความต้องการ Medical Foods หรืออาหารทางการแพทย์ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เพราะผู้สูงอายุจะเริ่มมีปัญหาทางด้านสุขภาพ จากระบบย่อยอาหารและดูดซึมอาหารที่เสื่อมลง มีภาวะขาดสารอาหาร จากการที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
โดยในปี 2573 คาดว่า มูลค่าตลาด Medical Foods ของโลกจะอยู่ที่ 3.66 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 1.3 ล้านล้านบาท) หรือขยายตัวเฉลี่ยปีละ 6.6% สำหรับประเทศไทย คาดว่า ในปี 2573 มูลค่าตลาด Medical Foods ของไทยจะอยู่ที่ราว 9.5 พันล้านบาท หรือขยายตัวเฉลี่ย ปีละ 6.2%
จากรายงานของ National Council on Ageing (NCOA) ยังพบว่า 80% ของผู้สูงอายุต้ังแต่ 65 ปีขึ้นไป จะมีอาการของ โรคเรื้อรังอย่างน้อย 1 โรค และอีก 68% มีโรค ต้ังแต่ 2 โรคขึ้นไป นี่ทำให้ผู้สูงอายุบางส่วนจำเป็นต้องบริโภคอาหารทางการแพทย์ เพื่อให้ได้รับสารอาหารเฉพาะเจาะจงที่ไม่สามารถได้รับเพียงพอจากอาหารท่ัวไป รวมถึงเพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคเรื้อรังต่างๆ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ตลาด Medical Foods เติบโตอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Medical Foods ที่มีแนวโน้มเติบโตดีในไทย ได้แก่ อาหาร ทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง และโรคขาดสารอาหาร
เจาะอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย โรคเบาหวานและโรคขาดสารอาหารนั้น มีสัดส่วนตลาด กว่า 25% และ 12% ของมูลค่าตลาดอาหารทางการแพทย์ท้ังหมด
โดย Krungthai COMPASS คาดว่า ในปี 2573 มูลค่า ตลาด Medical Foods ของไทยสำหรับโรคเบาหวาน อยู่ที่ 4.1 พันล้านบาท โต 4.1% และโรคไตเรื้อรังจะอยู่ที่ 2.3 พันล้านบาท โต 8.8% ส่วนมูลค่าตลาด Medical Foods ของไทย สำหรับโรคขาดสารอาหาร คาดว่าจะมีอัตราการ เติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ราว 3.8%
ทั้งนี้ การที่พบว่า Medical Foods สำหรับโรคเบาหวาน เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จะเติบโตโดดเด่นต่อเนื่องไปอีก ก็เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มข้ึนของจำนวน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และการให้ความสำคัญกับการ จัดการด้านโภชนาการที่เพิ่มข้ึน
โดยความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มสูงข้ึนตามอายุที่มากขึ้น นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังพบว่า คนรุ่นใหม่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานเพิ่มข้ึน ส่วนใหญ่ มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต และการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม
ซึ่งผู้ป่วยโรค เบาหวานจำเป็นต้องได้รับการจัดการด้านอาหารที่ เฉพาะเจาะจง รวมท้ังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ความต้องการอาหารทางการแพทย์กลุ่มนี้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงข้ึนตามไปด้วย
ท้ายที่สุด Krungthai COMPASS ประเมินว่า หากไทย มีการพัฒนาและผลิต Medical Foods ในประเทศ จะช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ หากต่อยอด สู่ Organic/Plant-based Medical Foods โดยเน้นใช้วัตถุดิบทางการเกษตรในประเทศ จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรของไทยราว 12-22 เท่า