วันเสาร์ ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567, 11.02 น.
รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ เปิดตัวนวัตกรรม “ตู้ห่วงใย” บริการทางการแพทย์เชิงรุก พบแพทย์ผ่านวิดีโอคอล เพิ่มความสะดวก – ลดระยะเวลา นำร่องแห่งแรกในกทม. เล็งขยายทั่วประเทศ
วันที่ 23 พ.ย.นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข เปิดตัว “ตู้ห่วงใย” สานต่อนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ บริการการแพทย์ทางไกลเชิงรุกในชุมชน โดยให้บริการ ครอบคลุม ภาวะเจ็บป่วย 42 กลุ่มโรค ถือเป็นสถานีสุขภาพที่ช่วยให้ประชาชนพบแพทย์ผ่านระบบวิดีโอคอล ลดความแออัดของโรงพยาบาลและระยะเวลารอคอยการรักษาพยาบาล หลังนำร่องแห่งแรกที่ชุมชนสหกรณ์เคหสถานเจริญชัย นิมิตใหม่ และจะเตรียมพร้อมขยายผลให้ได้ 50 แห่งในกรุงเทพฯ และขยายการให้บริการในพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศต่อไป
ทั้งนี้ ตู้ห่วงใย เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เพิ่มเติมบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับภาคเอกชน พัฒนาขึ้นเพื่อดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ที่ไม่สะดวกในการเดินทางไปหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยมีลักษณะเป็น Health Station ที่ติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารและอุปกรณ์วัดสัญญาณชีพต่างๆ เพื่อให้คนในชุมชนสามารถตรวจค่าสุขภาพพื้นฐานที่แม่นยำและรับผลการตรวจทันที โดย 1 วัน ตู้ห่วงใยสามารถให้บริการได้ 72 คน เฉลี่ย 1 ชั่วโมงต่อ 6 คน อีกทั้ง ยังสามารถพบแพทย์ผ่านระบบวิดีโอคอล และกรณีที่ต้องรับยาสามารถเลือกรับยาที่บ้าน หรือไปรับที่ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยตัวเองก็ได้ ขณะเดียวกัน ชุมชนก็จะเป็นผู้ทำการดูแลรักษาตู้ห่วงใยดังกล่าว ให้อยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมใช้งานเสมอ ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ครอบคลุม สะดวก รวดเร็ว มากขึ้น
“รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผ่านนโยบาย ‘30 บาท รักษาทุกที่’ โดยประชาชนสามารถเข้ารับบริการรักษาพยาบาลโดยใช้สิทธิบัตรทองฯ ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น การบูรณการบริการทางการแพทย์ด้วยนวัตกรรมบริการใหม่ ถือเป็นก้าวสำคัญของระบบสาธารณสุข ทั้ง ช่วยลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา และค่าเดินทาง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน” นางสาวศศิกานต์ กล่าว
<!– 2024-07-09 ปิด สคริป ADOP เพราะ auto sound
End 2024-07-09 ปิด สคริป ADOP เพราะ auto sound –>
<!– 2024-07-09 ปิด สคริป ADOP เพราะ auto sound
window._taboola = window._taboola || [];
_taboola.push({
mode: ‘rec-reel-3n4-a’,
container: ‘taboola-article-bottom’,
placement: ‘Article Bottom’,
target_type: ‘mix’
});
End 2024-07-09 ปิด สคริป ADOP เพราะ auto sound –>
<!–
window._taboola = window._taboola || [];
_taboola.push({
mode: ‘thumbnails-a’,
container: ‘taboola-below-article-text-links’,
placement: ‘Below Article Text Links’,
target_type: ‘mix’
});
–>