8 วิธีลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์ แก่ไปความจำยังดี สุขภาพแข็งแรง!


ดูแลกาย

แก่ไปไม่เป็นอัลไซเมอร์ได้! หากรู้จักความเสี่ยง และ เทคนิคการดูแลตัวเอง ชะลอความเสื่อมสมอง ให้ความจำดีตลอดชีวิต!

.ads-billboard-wrapper{display:flex;min-height:250px;align-items:center;justify-content:center}

หากคุณเป็นคนขี้ลืมและมีความกังวลว่าจะเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์หรือไม่? เรามวิธีป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอัลไซเมอร์ในอนาคต ถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างเช่น พันธุกรรมที่หากพ่อแม่เราเป็นโรคอัลไซเมอร์ เราก็มีโอกาสเสี่ยงขึ้นถึง 50% จากยีนส์ที่ชื่อว่า APOE gene ซึ่งถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม รวมถึงอายุที่ถ้าหากมากขึ้นก็เพิ่มความเสี่ยงขึ้นเรื่อย รวมถึงเพศที่คุณผู้หญิงมีโอกาสเป็นอัลไซเมอร์ได้มากกว่าผู้ชาย 3:2 คน 

สัญญาณอัลไซเมอร์ ขี้ลืมแบบไหน? รีบพบแพทย์ก่อนสูญเสียการใช้ชีวิต

อัลไซเมอร์คืออะไร? ทำไมถึงถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามในสังคมผู้สูงอายุ

ปัจจัยที่กล่าวมาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงและเปลี่ยนไม่ได้ แต่อย่าเพิ่งท้อใจนะคะ มีการพิสูจน์แล้วว่าหากเรามีพฤติกรรมที่ดี โอกาสการเป็นโรคอัลไซเมอร์จะได้ลดลงได้ ทำให้ถึงแก่ไปสมองเราก็ยังสดใสปิ๊งปั๊ง!

8 เทคนิคดูแลตัวเองให้แก่ไปไม่เป็นอัลไซเมอร์

  • เรียนรู้ตั้งแต่เด็ก

ใช่ค่ะ เราสามารถเตรียมการได้ตั้งแต่เด็ก เพื่อให้สมองที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต ได้พัฒนาเต็มที่ในวัยเรียน และยิ่งหมั่นศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ได้ฝึกสมองอยู่ตลอดไปจนแก่ โอกาสเสี่ยงก็จะยิ่งน้อยลงด้วยนะ

  • อย่าอ้วนอย่าผอมเกินไป

ผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ คือมีดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่อ้วนลงพุงหรือผอมเกินไป จะมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อยกว่า ใครที่รู้ตัวว่าอ้วนหรือผอมเกินไป ต้องจัดสรรการกินใหม่และหมั่นออกกำลังกายให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยนะ

  • ดูแลสุขภาพหูให้ดี

ใครก็หูตึง หูเสื่อม ได้ยินไม่ชัด จะทำให้การรับรู้เสียงต่างๆ น้อยลง สมองที่ทำหน้าที่แปลงเสียงเป็นความหมายก็จะค่อยๆ ถูกปิดกั้น ส่งผลกระทบถึงสมองส่วนอื่น เป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ รู้แบบนี้แล้วใครที่มีปัญหาอยู่ต้องรีบไปตรวจหู และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่เสียงดัง ถนอมหูไว้ให้ดีๆ

  • รักษาความดันให้เป็นปกติ

ใครที่มีความดันโลหิตสูง ต้องกินยาควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปาร์ตี้ เลิกดื่มเหล้า กินเบียร์ สูบบุหรี่ และจำกัดการกินของเค็ม อย่าเติมน้ำปลา เกลือ และงดอาหารรสจัดด้วย

ระยะภาวะสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์ เผยความรุนแรงของโรคก่อนสูญเสียความทรงจำ

  • ควบคุมระดับน้ำตาล

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี ไปหาหมอและตรวจระดับน้ำตาลเป็นประจำ ทานยาตามหมอสั่ง ไม่กินอะไรหวานๆ ที่จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูง

  • จิตใจแข็งแรงหากเป็นซึมเศร้ารีบรักษา

หากมีญาติหรือพบว่าตัวเองมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า ควรปรึกษาแพทย์และปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายบ่อยๆ คิดบวก ไม่ตำหนิตัวเองหรือคิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ไม่ดื่มเหล้า หรือแก้ปัญหาด้วยการใช้ยา หากเป็นแล้วป่วยแล้วก็ควรไปหาหมอ

  • ออกกำลังกายหลากหลาย

การออกกำลังกายแบบแอโรบิกให้หัวใจเต้นแรง เลือดสูบฉีด มีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นระหว่าง 60-85% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดจะดีมาก และควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ หรือจะฟิตกล้ามด้วยก็ได้นะ เพราะการมีกล้ามก็ทำให้ออกกำลังกายได้ดีขึ้นด้วย

  • เข้าสังคมบ้าง

การเข้าสังคม พบปะเพื่อนฝูง เป็นการกระตุ้นการทำงานของสมอง ทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น อาจเลือกกิจกรรมที่ชอบ เช่น ทำงานอาสาสมัคร เข้าร่วมกลุ่มหรือชมรมต่างๆ หาโอกาสสร้างความบันเทิงให้ตัวเองได้หัวเราะ ท่องเที่ยว หรือเล่นกับเด็กๆ ก็จะช่วยให้สมองได้ใช้งานอยู่เสมอ

ทั้งนี้การเลือกกินอาหารอย่างหลากหลายครบ 5 หมู่ก็เป็นการดูแลสมองของเราอีกทางหนึ่งและหากพบความผิดปกติ อาทิ หลงลืมบ่อยๆ ในเรื่องที่ไม่ควรลืมควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท

ภาพจาก : freepik และ shutterstock

เบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี อาจเสี่ยงสมองเสื่อม

ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ! หนุ่มจีนอายุ 19 ปี ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์

วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ

PPSHOP


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *