“ส่วนคำว่าสายหนังขายขาดให้ 10 ล้านนั้น คือรูปแบบธุรกิจสายหนัง ก็เหมือน ยี่ปั้ว คือในอดีตยุคฟิล์ม จะมีสายหนัง ทำหน้าที่จัดจำหน่าย อย่างเช่น เจ้าของหนังดูแค่กรุงเทพและปริมณฑล ส่วนนอกเขต สายหนังจะไปคุยกับโรงภาพยนตร์เอง จะทำประหนึ่งว่าเป็นเจ้าของหนังในแต่ละภูมิภาค”
“ส่วนตอนนี้เป็นยุคดิจิทัล ฟังก์ชันก็จะแตกต่างกัน เพราะสามารถส่งไฟล์ขึ้นฉายในโรงภาพยนตร์ได้ แต่ด้วยความทำธุรกิจด้วยกันมานาน จึงต้องหาโมเดลอยู่ร่วมกัน เช่น เจ้าของหนังเอาเข้าโรงภาพยนตร์เอง แต่ต้องมีการคุยกับทางสายหนัง หรือหนังบางเรื่องยังไม่มั่นใจเรื่องทำรายได้ จึงไม่ซื้อขาด แต่ซื้อเป็นขั้นบันได”
นอกจากนี้ นคร โพธิ์ไพโรจน์ ยังได้เล่าถึงประสบการณ์ทำหนังในค่ายเล็กด้วยว่า
“ก่อนหน้านี้ผมเคยทำหนังเล็กๆ ในค่ายเล็กมาก่อน ระบบสายหนัง ค่อนข้างกระทบกับหนังเล็กๆ ถ้าพูดให้เข้าใจคือหนังเล็กๆ ไม่มีอำนาจต่อรองเยอะ ขณะที่ค่ายใหญ่ๆ มีกำลังผลิต กำลังซื้อหนัง ทำให้เกิดอำนาจต่อรองมากขึ้น ส่วนหนังเล็กๆ จะไม่มีอะไรอย่างนั้น”
“โรงหนังในไทย ก็มีไม่กี่แบรนด์ ดังนั้นถ้าไม่เอา ก็ไม่ต้องขาย ทุกอย่างก็จบเลย พอเป็นหนังเล็กๆ มักจะเจอภาวะอะไรแบบนี้ ถ้าเกิดเป็นหนังใหญ่ การันตีรายได้ 100 ล้านแน่ๆ ก็จะเสียงดัง ฟังชัดกว่า”
“หนังไทบ้าน คือตัวแทนหนังเล็ก กว่าเขาจะมาถึงจุดนี้ เขาน่าจะผ่านอะไรหลายๆ อย่าง กว่าจะมีอำนาจต่อรองและเสียงดังขนาดนี้ได้”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง