.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}
กรมอุทยานแห่งชาติฯ อัปเดตความคืบหน้า การดูแลรักษาลูกช้างป่าทับลาน “พลายน้องเดือน” ล่าสุดมีอาการถ่ายเหลว ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงอยู่ตลอดเวลา
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 มีรายงานว่า ทีมสัตวแพทย์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รายงานข้อมูลลูกช้างป่า ชื่อเดือน เพศผู้ วัยเด็ก พบเจอบริเวณท้องที่บ้านตลิ่งชัน ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2566
สำหรับสุขภาพ และอาการลูกช้างป่า โดยรวมมีความอยากกินนมปกติ แต่เนื่องจากการขับถ่ายอุจจาระผิดปกติ ถ่ายเหลวเป็นน้ำสีเหลืองออกเขียว จึงมีการงดนม ให้น้ำเกลือผ่านเส้นเลือด และให้เกลือแร่แบบกินเบื้องต้นก่อน ปัสสาวะปกติทีมสัตวแพทย์ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างอุจจาระ เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เนื่องจากลูกช้างป่ามีอาการถ่ายเหลว
กิจวัตรประจำวันในการดูแลลูกช้าง มีการพาเดินเล่นช้าๆ โดยยังอยู่บนอุปกรณ์ช่วยพยุงอยู่ตลอดเวลาโดยยกสองขาหลัง ที่เข้าเฝือกเหนือพื้นเล็กน้อย ขาหน้าไม่มีการดึงรั้ง สามารถลงน้ำหนักได้เต็ม 2 ฝ่าเท้า ทำความสะอาดลดความชื้นของเฝือก
การเปลี่ยนถุงหุ้มเฝือก เพื่อลดการปนเปื้อนสิ่งสกปรก เช็กระดับรอก ให้เหมาะสมทุกครั้งในการยืน ทำการให้ยาฉีดลดปวดลดอักเสบ แคลเซียมสำหรับกิน และผงโปรไบโอติก และทำการใช้เครื่องปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetotherapy Vet) เพื่อทำการลดปวด ลดอักเสบ ควบคู่กับการรักษาทางยา โดยจะทำการใช้เครื่องปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตามโปรแกรมการรักษา ทั้งนี้ อาการโดยรวมยังคงเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดโดยสัตวแพทย์ จะมีการประเมินอาการวันต่อวัน
สำหรับการดูแลลูกช้างป่าดังกล่าว เป็นความร่วมมือของทีมสัตวแพทย์ กรมอุทยานแห่งชาติฯ ประกอบด้วย สพ.ญ.ชนัญญา กาญจนสาขา นายสัตวแพทย์ชำนาญการ สอส.สบอ.1 (ปราจีนบุรี) ทำหน้าที่หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน สพ.ญ.พรรณราย ว่องวัฒนกิจ นายสัตวแพทย์ชำนาญการ สอส.สบอ.7 สพ.ญ.กิติยาภรณ์ เอี่ยมสะอาด นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กจส. สอป. สพ.ญ.กนกวรรณ ตรุยานนท์ นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สอส.สบอ.3 (บ้านโป่ง) สพ.ญ.ณฐนน ปานเพ็ชร นายสัตวแพทย์ชำนาญการ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก และศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทับลาน และฐานปฏิบัติอีกด้วย.
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช