สทน.ตรวจวัดรังสีในอาหารทะเลจากญี่ปุ่น สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค


.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}

รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผอ.สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยกรณีเหตุการณ์การปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีที่บำบัดแล้วลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก่อให้เกิดความวิตกกังวลโดยเฉพาะกับประเทศที่นำเข้า อาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่นว่า อาจมีสารกัมมันตรังสีที่ปนเปื้อนและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้แก่ ซีเซียม-134 ซีเซียม-137 คาร์บอน-14 และตริเตียม ว่า ได้สั่งการให้ศูนย์บริการเทคโนโลยีนิวเคลียร์และศูนย์จัดการกากกัมมันตรังสีเตรียมความพร้อม เพื่อให้บริการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารกัมมันตรังสีที่อาจปนเปื้อนมาในอาหารทะเลและถูกนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น

เนื่องจาก สทน.ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจวิเคราะห์สารกัมมันตรังสีที่ปนเปื้อนในอาหารได้ ปัจจุบันห้องปฏิบัติการของศูนย์บริการเทคโนโลยีนิวเคลียร์ สทน. สามารถตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อน ไอโอดีน-131 ซีเซียม-134 และซีเซียม-137 ในอาหารได้ ส่วนคาร์บอน-14 สามารถตรวจได้ในห้องปฏิบัติการศูนย์วิจัยและพัฒนานิวเคลียร์และตริเตียมในตัวอย่างน้ำชนิดต่างๆ สามารถตรวจได้ที่ห้องปฏิบัติการศูนย์จัดการกากกัมมันตรังสี

ผอ.สทน.กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ประกอบการที่นำเข้าอาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่น หากมีความกังวลใจหรือมีมาตรการเฝ้าระวังเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค สามารถส่งตัวอย่างสินค้าที่นำเข้ามาตรวจปริมาณสารกัมมันตรังสีที่ห้องปฏิบัติการของ สทน. ซึ่งหากตรวจสอบแล้วไม่พบการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี สทน.จะรายงานผลการวิเคราะห์ตามระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO/IEC17025 เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นได้อีกทางหนึ่ง ส่วนผู้ประกอบรายใดต้องการนำสินค้าตรวจวัดปริมาณรังสีพร้อมออกใบรับรองเพื่อการส่งออก ก็สามารถขอรับบริการได้เช่นกัน โดยติดต่อขอรับบริการหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมงานบริการได้ที่ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ สทน. (One Stop Service) โทร.0-2401-9889 ต่อ 5980, 5990 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.

สำหรับที่ผ่านมาประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับกรมประมง กำหนดมาตรการเฝ้าระวังและตรวจสอบอาหารทะเลนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2563 เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน เป็นเกณฑ์การตรวจสอบสินค้านำเข้า เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค.


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *