“Steamboat Willie” ครบรอบ 95 ปี ปฐมบทแห่งจินตนาการไร้เขตแดนของ Walt Disney


คุณ Lillian Disney เมื่อได้ยินดังนั้นถึงกับส่ายหัว เพราะ Mortimer Mouse ดูเป็นหนูที่เข้าถึงยาก และดูไม่เป็นมิตรกับลูกเด็กเล็กแดงเท่าไร เธอจึงเสนอ Walt Disney ว่า ให้หนูตัวนี้ชื่อ Mickey Mouse ก็แล้วกัน

Lillian Disney Cr. Wikipedia

ภาพคู่ของ Walt และ Lillian Disney Cr. The Walt Disney Family Museum

ทฤษฎีสมคบคิด: นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ชื่อ Mickey Mouse อาจได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ‘หนูของเล่น’ ของบริษัท Performo Toy ณ ขณะนั้น โดยของเล่นหนูมีชื่อว่า Micky (ไม่มีตัว e) จึงมีคนแซวกันว่า “It all started with a toy” หรือ “ทุกอย่างมันเริ่มจากของเล่นชิ้นหนึ่ง”

ตุ๊กตาหนูจากบริษัท Performo Toys Cr.Wikipedia

แผ่นโฆษณาของ Perfomo Toys

Steamboat Willie

Steamboat Willie คือแอนิเมชันขนาดสั้น ขาวดำ ณ ขณะนั้น Walt Disney และ Ub Iwerks ได้ผลึกออกมา 2 ตอนคือ Plane Crazy และ The Gallopin Gaucho แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ไปเสนอขายก็ยังไม่มีใครจ่ายเงินให้ มีคนพูดถึงขั้นว่า ‘ช่างเป็นการ์ตูนที่น่าเบื่อเสียจริง’

จึงมาถึงตอนที่ 3 ต่อมจินตนาการของ Walt Disney กำเริบ! เขาเสนอไอเดียว่า ถ้าเราใส่เสียงลงไปในแอนิเมชันด้วยล่ะ จะเป็นอย่างไร? ถึงจุดนี้ แค่ตั้งคำถามก็ถือว่าปฏิวัติวงการแอนิเมชันแล้ว เพราะปกติแอนิเมชันส่วนใหญ่จะเป็นการ์ตูนเงียบเท่านั้น

Steamboat Wille ตอน Plane Crazy Cr. Flickr

เมื่อสมองคิดได้ ก็ต้องทดลองทำดู Walt Disney ได้ทดลองใส่เสียง Sound Effect ลงไปก่อน เพื่อดูว่ามันจะเป็นอย่างไรนะ ปรากฎว่าเสียงประกอบภาพช่วยทำให้ความเพลิดเพลินในการรับชมเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

มีเรื่องที่บอกเล่ากันว่า Walt Disney เป็นคนใส่ใจในรายละเอียดมาก การจัดวางเสียงต้องตรงและเชื่อมโยงกับภาพที่ปรากฎให้แม่นยำที่สุด เพื่อไม่ให้ผู้ชมสูญเสียอรรถรสในการรับชม แถมเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับงานแอนิเมชันด้วย

Walt Disney วาด Steamboat Wille Cr. Flickr

แต่เนื่องจากการทำเช่นนี้ยังถือเป็นเรื่องที่ใหม่มาก บริษัท Walt Disney ซึ่ง ณ ขณะนั้นพอจะมีทีมงานชุดใหม่เข้ามาบ้างแล้ว หนึ่งในทีมงานของบริษัทชื่อว่า Wilfred Jack-son ได้เสนอไอเดียว่าให้ลองใช้เครื่อง Metronome เพื่อใช้กำหนดเสียงในแอนิเมชัน

Metronome ใช้ synchronize ภาพและเสียงให้ตรงกัน Cr. Wikipedia

เครื่องนี้คืออุปกรณ์ที่สร้างเสียงติ๊ก โดยเราสามารถกำหนดเวลาได้ว่าจะให้มันดังกี่ครั้งใน 1 นาที หรือเรียกว่า Beat Per Minute (BPM) นั่นเอง ซึ่ง Wilfred ดึงประโยชน์ในส่วนนี้มาเพื่อ synchronize ภาพยนตร์และเสียงให้ตรงกันตามจังหวะ

ในช่วงแรกของการทดลอง นี่ถือเป็นเรื่องใหม่มาก มีเหตุการณ์เล่าว่า Walt Disney ได้ทดลองด้วยการ สร้างจอฉายแอนิเมชันเรื่อง Steamboat Wille โดยมีฉากเป็นผ้าปูที่นอน และทดลองใส่ sound effect ซึ่งถูกวางจังหวะด้วยเครื่อง Metronome แล้วทดลองรับชมว่าเป็นอย่างไรบ้าง

ผู้ร่วมการปฏิวัติในครั้งนั้น แน่นอนมี Walt Disney คุณ Lillian Disney ภรรยาของเขา และ Wilfred ได้ทดลองด้วยการเล่นออร์แกนเป็นเพลง Turkey in the Straw และเพลง Steamboat Bill จากภาพยนตร์เรื่อง Steamboat Bill, Jr. ที่แสดงโดย Buster Keaton และรอยยิ้มบนใบหน้าของทุกคนที่ได้เห็นก็คือคำตอบ ว่าสิ่งนี้มันต้องเวิร์คแน่ ๆ

ภาพยนตร์เรื่อง Steamboat Bill, Jr. Cr. Wikipedia

โอกาสมาถึงแล้ว จะเสียเวลาคอยท่าอยู่ใย Walt Disney Ub Iwerks และทีมงาน ทำงานอดหลับอดนอนเพื่อเข็นแอนิเมชันเรื่องนี้ให้สำเร็จให้ได้

จนถึงเดือนกรกฎาคม ปี 1928 Steamboat Willie โฉมใหม่ ที่มาพร้อม Sound Effect ความยาว 8 นาที 30 วินาที ก็สำเร็จลุล่วง พร้อมอวดโฉมสู่สายตาผู้คน

Steamboat Willie ดราฟท์ 2  

ขั้นตอนการลงเสียงที่เล่าไปข้างต้นเป็นเพียงการทดลองทำกันเองภายในสตูดิโอ เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปได้เท่านั้น แต่หากจะนำไปฉายโรง Walt Disney คิดว่าควรจ้างให้นักลงเสียงมาทำให้น่าจะได้คุณภาพที่สูงกว่า

เขาจึงเดินทางไปที่นิวยอร์กอีกครั้ง เพื่อพบกับ Patrick Anthony Power (P.A. Powers) ทรงพลังสมชื่อเพราะชายคนนี้ เป็นนักธุรกิจ ผู้จัดจำหน่าย และเป็นโปรดิวเซอร์ ที่มีเส้นสายในอุตสาหกรรมภาพยนตร์

Patrick Anthony Powers ผู้จัดจำหน่าย Steamboat Wille Cr. Wikipedia

“Powers เป็นบุคคลที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างมากในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เขาทั้งฉลาด มีความสามารถ และพิถีพิถันในทุก ๆ เรื่องที่ทำ” Walt Disney กล่าวถึง P.A. Powers ชายผู้กลายเป็นคนจัดจำหน่ายแอนิเมชันเรื่อง Steamboat Wille

ในวันที่ 15 กันยายน มีบันทึกเสียงของภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีวง orchestra เครื่องดนตรีกว่า 17 ชนิด พร้อมด้วยดูแลเรื่อง sound effect อีก 2-3 คน เข้ามาร่วมบรรเลงประวัติศาสตร์ในครั้งนี้

ทว่า ผลลัพธ์ออกมาแย่กว่าที่คิด ทางฝั่งของนักดนตรีก็ใหม่ในการที่ต้องเล่นดนตรีประกอบการ์ตูน ทางฝั่งผู้สร้างอย่าง Walt Disney ก็คอตกพอสมควรเมื่อเห็นว่า สิ่งที่คิดกับความเป็นจริงมันต่างกันราวฟ้ากับเหว

แม้ผลลัพธ์จะออกมาไม่ดีนัก ทุกฝ่ายจึงเร่งอุดรอยรั่วและช่วยกันพัฒนาชิ้นงานให้ออกมาดียิ่งขึ้น พวกเขาทดลองใส่ ‘Bouncing Ball’ หรือ ‘ลูกบอลเด้งดึ๋ง’ ลงไป ในแวดวงคนทำงานแอนิเมชันจะทราบถึงคำนี้ดี มันคือการ กฎการเคลื่อนไหวพื้นฐานของงานแอนิเมชันที่คอยกำหนด Space และ Time ของวัตถุต่าง ๆ

ทำให้นักดนตรีสามารถสังเกตการณ์เคลื่อนไหวจาก Bouncing Ball และรู้ว่าจังหวะไหนควรเพิ่มหรือลด จังหวะยังยังไม่ต้องบรรเลง ซึ่งเมื่อใช้วิธีนี้ ผลปรากฏว่าอะไร ๆ ก็ลงล็อคไปหมด การบันทึกเสียงครั้งที่ 2 จึงเกิดขึ้นในอีก 2 สัปดาห์ถัดมา

ออกฉายครั้งแรก

Steamboat Willie ในเวอร์ชั่นใหม่ ออกฉายครั้งแรกที่โรงละครแห่งหนึ่งบนถนนบรอดเวย์ชื่อว่า Colony Theatre โดยคุณ Harry Reichenbach ซึ่งเป็นเจ้าของโรงละครดังกล่าว เมื่อได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็ได้เสนอว่า ให้นำ Steamboat Willie มาฉายโปะหน้าภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องอื่น ๆ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์

Walt Disney ก็ตอบตกลง และเมื่อเจ้าหนู Mickey Mouse ได้ออกไปโลดแล่นให้กับผู้คนได้เห็น นวัตกรรมชิ้นนี้ก็ได้ปฏิวัติวงการสร้างแอนิเมชันของโลกไปตลอดกาล

ในปี 1932 หรืออีก 4 ปีถัดมา หลังจากที่ Mickey Mouse ได้ถล่มโลกนี้ไปเป็นที่เรียบร้อย ทำให้กราฟความสำเร็จและการเติบโตของบริษัท Walt Disney พุ่งกระฉูดแซงหน้าสตูดิโออื่น ๆ ที่อยู่ร่วมยุคสมัยกัน

ความยากลำบากที่ Walt ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจลงไปในผลงานก็ถูกตอบแทนจากคนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ 

การสร้าง ‘Mickey Mouse’ ในวันที่ 18 พฤศจิกายน ปี 1932 Walt Disney ได้ขึ้นรับรางวัลออสการ์กิตติมศักดิ์จาก Academy of Motion Picture Arts & Sciences เพื่อปักจารึกไว้ว่า Steamboat Willie คืองานแอนิเมชันเรื่องแรก ที่มีการผสมเสียงใส่ลงไปในการ์ตูน

Walt Disney ได้รับรางวัลออสการ์จาก Steamboat Willie Cr. Joyful combustion

Walt Disney กล่าวถึงความสำเร็จของ Mickey Mouse ไว้ว่า “ภาพยนตร์มักพยายามปั้นสถานการณ์ตลกด้วยบทสนทนา ทว่าสิ่งที่สามารถเรียกเสียงหัวเราะได้มันต้องเป็นภาพที่เห็นมากกว่า”

“การสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกผ่านสิ่งของที่ไม่มีชีวิตเช่น พลั่ว เก้าอี้โยก สร้างเสียงหัวเราะได้เสมอ หรือแม้แต่เฉดอารมณ์ความทุกข์ทรมานของมนุษย์ที่ถูกแสดงผ่านสัตว์ต่าง ๆ”

มีคนเคยถาม Walt Disney ว่า คุณรัก Mickey Mouse แค่ไหน?

“ผมรัก Mickey Mouse มากกว่าผู้หญิงทุกคนในชีวิต”

ครบรอบ 95 ปี แห่งความยิ่งใหญ่

นอกจากจาก Steamboat Willie ที่ทำให้ทั่วโลกได้รู้จักกับ Mickey Mouse จนกลายเป็นการ์ตูนขวัญใจมหาชน และเข้าไปนั่งอยู่ในหัวใจของมนุษย์ทุกเพศทุกวัยแล้ว 

ความสำเร็จของ Mickey Mouse ยังเป็นต้นทุนให้กับ Walt Disney ได้โลดแล่นไปใน ‘จินตนาการที่ไร้เขตแดน’ ของเขาอีกหลายสิบปี

เกิดผลงานชิ้นโบว์แดงมากมายอาทิ ลูกหมูสามตัว (Three Little Pigs) สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด (Snow White and the Seven Dwarf) และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เสาของสตูดิโอ Walt Disney ยังคงแข็งแรงมาจนถึงปัจจุบัน

Three Little Pigs Cr. Wikipedia

Snow White and the Seven Dwarfs Cr. Wikipedia

หากใครเคยไปเที่ยวที่ Disney Land หากสังเกตจะพบว่า พนักงานจะเรียกว่า Mickey Mouse ว่า “Boss” ทุกปราสาทของดิสนีย์จะปรากฏรูปปั้นสำริดของ Walt Disney และ Mickey Mouse เคียงคู่กัน คอยยืนต้อนรับผู้คนที่เข้ามาท่องโลกแห่งจินตนาการที่เขาสร้างขึ้น

รูปปั้นสำริดของ Walt Disney และ Mickey Mouse Cr. Flickr

ร่ายกันมายาวหลายหน้ากระดาษ ความยิ่งใหญ่ของสตูดิโอ Walt Disney นอกจากจะเกิดจากการไม่ยอมแพ้ ทีมงานที่ร่วมสู้มาด้วยกัน Ub Iwerks มิตรแท้ในยามยาก

แม้กระทั่งพี่ชายอย่าง Roy Oliver Disney ที่ดูแลจัดการเรื่องธุรกิจของ Walt Disney Studios ให้มีรากฐานที่แข็งแรง และทำให้จิตวิญญาณของน้องชายยังคงส่องสว่างบนโลกนี้ตราบชั่วอนันตกาล

ขอทิ้งท้ายไว้ด้วยคำกล่าวของ Walt Disney

“I only hope that we don’t lose a sight of one thing-that it was all started by a mouse”

“ผมอยากให้ทุกคนไม่ลืมว่า ทุกอย่างมันเริ่มมาจากหนูตัวหนึ่ง”

ที่มา: LOC

        waltdisney

        smallbusiness

        MoMa

       disney.fandom

       luckybymusic

       joyfulcombustion

       cartoonbrew

เนื้อหาที่น่าสนใจ


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *