“กรมส่งเสริมวัฒนธรรม” แจงดราม่า “เมนูประจำถิ่น” บางจังหวัดคนท้องถิ่นไม่รู้จัก


.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}

“อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม” แจงดราม่า “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” หลังบางจังหวัดคนท้องถิ่นไม่รู้จัก พร้อมชี้โครงการตอบโจทย์วัตถุประสงค์การยกระดับอาหารไทยสู่สากล

วันที่ 2 ก.ย. 2566 นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า ตามที่ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ประกาศรายชื่อผลคัดเลือก “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ภายใต้โครงการการส่งเสริม และพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย รสชาติ…ที่หายไป ประจำปีงบประมาณ 2566 และมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ และข้อสงสัยของรายชื่ออาหารบางจังหวัดที่คนท้องถิ่นไม่รู้จัก 

ทั้งนี้ ขอชี้แจงว่า สวธ. ได้ดำเนินโครงการนี้เพื่ออนุรักษ์อาหารพื้นบ้านอยู่คู่กับอาหารไทยและอยู่คู่บ้านคู่เมืองของคนไทย โดยประสานงานกับสภาวัฒนธรรมจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด และเครือข่ายทางวัฒนธรรม รวบรวมเมนูอาหารถิ่นที่กำลังจะเลือนหาย ที่หารับประทานได้ยาก เพื่อยกระดับ พัฒนา สร้างสรรค์ เป็นอาหารประจำจังหวัด และจัดทำเป็นสำรับอาหารประจำภาค ทั้ง 4 ภาค ซึ่งเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่องค์ความรู้และภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอาหารถิ่น ทั้งคาวและหวาน ซึ่งมีสรรพคุณหลากหลาย ทั้งด้านสุขภาพ โภชนาการ สมุนไพร ด้านวิธีการปรุง เคล็ดลับและประวัติความเป็นมา 

อีกทั้งจะช่วยเพิ่มมูลค่าของอาหารต่อยอดวัตถุดิบที่เป็นสมุนไพรจากชุมชน ให้สามารถนำเสนอในมิติความแตกต่างแปลกใหม่และเป็นสากลเทียบเท่ากับอาหารจากชนชาติอื่นๆ ได้ ตลอดจนจะเป็นโอกาสในการปลูกฝังค่านิยมการรับประทานอาหารที่ปรุงจากอาหารพื้นบ้านแก่เยาวชนรุ่นใหม่ด้วย 

นายโกวิท กล่าวอีกว่า การประกาศรายชื่อเมนูอาหาร ทั้ง 77 รายการนี้ ย่อมเข้าใจได้ว่า อาหารบางชนิด ประชาชนในท้องถิ่นเองอาจจะไม่รู้จัก หรือไม่เคยพบเห็นหรือสัมผัสมาก่อน นั่นคือ สิ่งที่ตอบวัตถุประสงค์ของโครงการ คือการค้นหาเมนู “รสชาติ…ที่หายไป” ซึ่งเราอยากฟื้นกลับมา และเมื่อมีการคัดเลือกมาแล้ว ถือเป็นการปลุกกระแสทำให้คนในท้องถิ่นได้หันมาสนใจ และส่งผลดีต่อการสร้างความเข้าใจ ในรากเหง้าทางวัฒนธรรมของจังหวัดนั้นๆ และยังจะสามารถพัฒนาสู่การพิจารณายกย่องเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านอาหาร ในอนาคตด้วย.

ทั้งนี้ สวธ. มีแผนการดำเนินงาน ในการจัดทำคู่มือเมนูอาหารถิ่น 77 รายการ เผยแพร่องค์ความรู้ ประวัติ ความเป็นมาของอาหาร รวมทั้งองค์ประกอบในเมนูต่างๆ 

นอกจากนี้ จะส่งเสริมและยกระดับอาหารไทยโบราณพื้นถิ่น ที่เป็นรากเหง้าของชุมชนสู่อาหารจานเด็ดที่ต้องชิม รวมถึงรวบรวม สูตรอาหารกับข้าวไทยๆ วิธีทำอาหารดั้งเดิม พร้อมด้วยเคล็ดลับการทำอาหารอย่างประณีตเผยแพร่ในระดับชาติ และในวันที่ 21 ก.ย. สวธ. จะมีการจัดกิจกรรมประกาศยกย่องเมนูอาหารถิ่น ทั้ง 77 รายการอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารถิ่นทุกจังหวัดมาให้ความรู้และสาธิตกระบวนการทำอาหารทุกเมนู จากนั้นจะมีการยกระดับการเผยแพร่เมนูอาหารถิ่นสู่ระดับสากลต่อไป.


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *