.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}
“Nyad” ภาพยนตร์ที่พล็อตเรื่องธรรมดา แต่น่าสนใจที่ “ดีเทล” และ “แรงขับเคลื่อน” ที่ว่า ไม่เคยมีข้อจำกัดใดๆ สำหรับ “ร่างกายมนุษย์” และ “ความฝัน”…
บารัค โอบาม่า, แอนนา วินทัวร์ หรือ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน …สามท่านนี้ เวลาไปบรรยาย หรือพูดสร้างแรงบันดาลใจที่ไหน คนฟังมักจะแน่นขนัด แต่ระยะหลังๆ เทรนด์สาย motivational speaker มักโฟกัสมาที่คนในแวดวง sport มากขึ้น (ล่าสุด นักปีนเขาหลายคนก็ถูกเชิญไปพูด)
แต่ผมคิดว่าคนที่ผมอยากฟังเขาบรรยายมากที่สุดปีนี้ ก็คือ “ไดอาน่า ไนแอด” (Diana Nyad) ซึ่งชีวิตของเธอถูกนำมาทำเป็นหนัง (feature ไม่ใช่ documentary) เหตุผลคือในโลกเราจะมีใครหรือ? ที่สามารถว่ายน้ำได้เกือบ 180 กิโลเมตร ในเวลาสองวันกว่า…และ – โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้หญิง อายุ 61 ปี ที่ฟิตเนสอะไรทางกล้ามเนื้อ ก็หมดสภาพไปมากแล้ว
พล็อตเรื่องใช้ฟุตเทจจริงเพียงนิดน้อย (จากปี 2013) เนื้อหาก็นำเสนอแรงขับภายในตัวของ ไนแอด (แอนเนตต์ เบนนิง) ที่บอกกับเพื่อนสนิทว่า เธอต้องการจะทำ mission สำคัญครั้งสุดท้าย
นั่นคือว่ายน้ำจาก คิวบา ไป ฟลอริดา แบบรวดเดียว 176 กิโลเมตร โดยเธอต้องว่ายและลอยตัวอยู่ในน้ำตลอดเวลา
ที่น่าทึ่งไปกว่านั้นคือ ไนแอด ปฏิเสธการใช้กรงเหล็กในการครอบร่างเธอ เพื่อป้องกันฉลาม – แต่ในน้ำไม่ใช่มีแค่ฉลาม
สิ่งร้ายๆ ยังมีอีกมาก เช่น แมงกะพรุนไฟ, แมงกะพรุนกล่อง, ความเย็นของน้ำทะเล, คลื่นน้ำ และน้ำวน อีกสารพัด
ยังไม่นับกลางคืน, ความหิว หรือแม้แต่น้ำทะเลที่เธอต้องกลืนกินเข้าไป ก็ทำลายร่างกายในการว่ายไม่น้อย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า “เน็ตฟลิกซ์” ได้เปลี่ยน perception สำหรับหนังสารคดีกีฬา (และไม่กีฬา) ไปมาก
เรียกว่า ยุคนี้ documentary จะกิ่งก้านแยกย่อยไปไหน มันไม่ใช่การตั้งกล้อง คุยกันแบบน่าเบื่ออีกแล้ว
ตัวอย่างของสารคดีที่ดีมากก็คือ last dance กับ david beckham (โดยทั้งสองเรื่องแพลนการตลาดควบคู่ไปด้วยอย่างน่าทึ่ง)
แต่ Nyad ไปไม่ถึงจุด “หนังดี” ประการแรก, หนังใช้ formula plot มากเกินไป จนทำให้ช่วงเวลา 2 ชั่วโมง 6 นาทีนั้น คนดูคาดเดาทิศทางของสถานการณ์ได้หมด
เรารู้ตั้งแต่แรกแล้วว่า ไนแอด ต้องล้มเหลวก่อน เพราะการโดดลงทะเลของเธอ มาตั้งแต่ต้นเรื่องเลย นั่นหมายความว่าอีกชั่วโมงครึ่งที่เหลือ บทจำต้องมี conflict เพื่อยืดขยายเรื่องออกไป
ผมไม่สนุกกับหนังเลย แต่สิ่งที่ทำให้จดจำคือ รายละเอียดในการฟันฝ่าภารกิจ ของ ไนแอด ที่น่าสนใจมาก
เช่น เธอไม่ได้นับหรือจดจ่อที่การว่าย (ในขณะกำลังว่าย) เธอบอกว่า เวลาว่าย จ้วงฟาดแขนไปแต่ละน้ำ – เธอร้องเพลงที่เธอชอบ (เช่น the sound of silence ของ ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล)
หนังใช้เพลงนี้กับช่วงจังหวะที่ถูกต้อง ทั้งความเหงาในน้ำ, ชีวิตที่เดียวดายทางจิตใจ และยิ่งสงสารจับจิต เมื่อรู้ว่าในวัยเยาว์ เธอถูกโค้ชสอนว่ายน้ำที่เธอรัก “ใช้ความรักนั้น rape เธอ”
ดีเทลที่น่าสนใจยังมีอีกหลายอย่าง ที่ “ห่อหุ้ม” พล็อตที่ธรรมดาๆ เอาไว้ ทีมงานที่จะขับเรือ พายเรือคู่ขนานเธอไปนั้น จะต้อง “ทำการบ้านอย่างหนัก” เพื่อให้เส้นทางไม่หลงน้ำ เพราะคลื่นอาจซัด โถม ให้เธอว่ายจากทิศหนึ่งไปทิศหนึ่ง ได้อย่างไม่รู้ตัว
หนังเรื่องนี้จะไม่ดังมาก เพราะดราม่ามีน้อย (ไม่ถูกจริตกับคนไทยที่บ้าดราม่า) แต่สิ่งที่พิเศษที่สุด และเป็น motivate สำคัญ ก็คือ…ไม่เคยมีข้อจำกัดใดๆ สำหรับร่างกายมนุษย์ และไม่มีเลย – สำหรับ “ความฝัน”
อ่านบทความ “นันทขว้าง สิรสุนทร” เพิ่มเติม :