ป่าสาละ ผนึกพันธมิตรจัดเสวนาความท้ายทายด้านสิทธิมนุษยชนในอุตสาหกรรมอาหาร โชว์งานวิจัยสำรวจผู้ประกอบการ 37 รายทั่วโลก พบ 5 ความท้าทายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
วันที่ 4 กันยายน 2566 บริษัท ป่าสาละ จำกัด พร้อมด้วยพันธมิตร ทั้งภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอาหารจากบริษัทชั้นนำมาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มและความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานอาหาร ในหัวข้อ “Human Rights Trends and Challenges in Food Supply Chain in Asia” เมื่อไม่นานผ่านมา
โดยวัตถุประสงค์ของเสวนาในครั้งนี้เพื่อสร้างบทสนทนาระหว่างบริษัทอาหารและผู้ทำวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานอาหาร หรือ Food Supply Chain โดยมี Shift องค์กรไม่แสวงกำไรผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนมาร่วมแบ่งปันมุมมองด้านกฎหมายในการตรวจสอบธุรกิจด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม (Corporate Sustainability Due Diligence หรือ CS3D)
ทั้งนี้ Shift ได้นำเสนองานวิจัย From Policy to Partnership จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการกว่า 37 รายทั่วโลก ได้สรุปผลความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนที่แต่ละบริษัทเจอร่วมกัน 5 ประการ คือ
- ความคาดหวังด้านความยั่งยืนถูกโอนความรับผิดชอบไปให้ซัพพลายเออร์ ซึ่งขาดความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างซัพพลายเออร์และตัวบริษัทเอง
- แทนที่จะเป็นการมอบรางวัลหรือสร้างแรงจูงใจ หลายบริษัทกลับเลือกใช้บทลงโทษแก่ซัพพลายเออร์หรือลูกจ้าง
- ลูกจ้างหรือซัพพลายเออร์ขาดแรงสนับสนุนจากบริษัทนายจ้าง
- บริษัทมักไม่ค่อยได้ตรวจสอบนโยบายหรือรูปแบบธุรกิจว่าสร้างผลกระทบต่อซัพพลายเชนอย่างไรบ้าง
- บริษัทพยายามทำความเข้าใจคุณค่าของการมีส่วนร่วมที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียของตน
อย่างไรก็ตาม แม้การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนจะส่งผลดีแก่บริษัท สังคม ทางด้านความยั่งยืน แต่บริษัทต่างก็ต้องเผชิญกับผลกระทบด้านลบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากนั้นยังได้เผยถึงแนวคิดที่ธุรกิจสามารถนำไปเตรียมตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น นั่นคือ “การเยียวยา (Remedy)” โดยยกตัวอย่างแนวปฏิบัติที่น่าสนใจ เช่น การเตรียมตัวล่วงหน้า ไม่รอจนกว่าจะเกิดความเสียหายแล้วค่อยแก้ไข ทำความเข้าใจที่จะรับมือความเสียหายในรูปแบบที่แตกต่าง หรือร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ องค์กรต่างๆ ในการรับมือการเยียวยานั้น
@media (min-width: 1139.98px) { #ud-dfp-ad-pos-pc_inarticle1 { min-width: 336px;
min-height: 280px; } }@media (max-width: 768px) { #ud-dfp-ad-pos-pc_inarticle1 { min-width: 336px;
min-height: 280px; } }
ด้านสฤณี อาชวานันทกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ป่าสาละ จำกัด หนึ่งในพาร์ตเนอร์ของโปรแกรม Fair for All (F4A) นำเสนอความท้าทายของห่วงโซ่อุปทานอาหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ครอบคลุม 16 ห่วงโซ่อาหารในวิจัยสังเคราะห์ (Synthesis Report) โดยใช้ข้อมูลจากงานวิจัยขององค์กรพาร์ตเนอร์ภาคประชาสังคมทั้ง Prakarsa และ SAAPE มาสำรวจการเปิดเผยนโยบายของการส่งออกอาหารจากประเทศต่างๆ เช่น น้ำมันปาล์ม อาหารทะเล การประมง ชา กาแฟ และข้าว
โดยยกตัวอย่างห่วงโซ่อาหารทะเลจากศรีลังกา บังคลาเทศ และปากีสถาน งานวิจัยพบความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนหลายประการ ทั้งการละเมิดกฎหมายและสิทธิแรงงาน แรงงานผู้หญิงโดนเอารัดเอาเปรียบ อคติทางเพศ ค่าแรงต่ำ การใช้แรงงานเด็ก การเข้าไม่ถึงระบบสาธารณูปโภคและระบบทางการแพทย์ของแรงงาน
TU โชว์แผนยั่งยืนอุตสาหกรรมอาหารทะเล
นายปราชญ์ เกิดไพโรจน์ ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืน ภูมิภาคเอเชีย บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัทอาหารทะเลรายใหญ่ระดับโลก ที่มีแผนการปรับอุตสาหกรรมอาหารทะเลผ่าน Seachange แผนการปรับรูปแบบในอุตสาหกรรมอาหารทะเล โดยจะใช้เงินลงทุนจากกำไรในปี 2022 กว่า 7.2 พันล้านบาทเพื่อความยั่งยืนในอีก 8 ปีข้างหน้า สำหรับเป้าหมาย 2 ประการ คือ ประการแรกเพื่อผู้คน ที่มุ่งเน้นสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน และประการที่สองเพื่อโลก ที่มุ่งเน้นการเคลื่อนไหวทางภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพโดยเฉพาะทางทะเล และเศรษฐกิจหมุนเวียน
@media (min-width: 1139.98px) { #ud-dfp-ad-pos-pc_inarticle2 { min-width: 336px;
min-height: 280px; } }@media (max-width: 768px) { #ud-dfp-ad-pos-pc_inarticle2 { min-width: 300px;
min-height: 250px; } }
ซึ่งประเด็นทั้งสองนี้ถูกแบ่งออกมาเป็นภารกิจที่สำคัญของบริษัท 11 ข้อ เช่น จัดหาแหล่งวัตถุดิบอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Sourcing) ทั้งเรือประมงและฟาร์มอาหารทะเล ภายในปี 2023 ให้ผู้หญิงมีตำแหน่งผู้จัดการถึง 50% ภายในปี 2023 หรือจะปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 เป็นต้น
นอกจากนี้ ซัพพลายเชนของบริษัทมีจรรยาบรรณและหลักปฏิบัติ เช่น ไม่มีการบังคับใช้แรงงาน ไม่มีการใช้แรงงานเด็ก จ่ายเงินอย่างยุติธรรม และดูแลแรงงานข้ามชาติอย่างครบวงจร
ปราชญ์ เผยกรอบการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนของไทยยูเนี่ยนที่ประกอบไปด้วย 6 เสาหลักสำคัญที่ดัดแปลงจากเกณฑ์ของ UNGP คือ 1.กลยุทธ์ เป้าหมายและนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทที่มีเป็นพื้นฐาน 2.ความเข้าใจความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัท 3.หาทางลดความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่จะเกิดขึ้นและมีผลกระทบกับการดำเนินงาน 4.ตรวจหาความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนด้วยการใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 5.จัดหาวิธีการเยียวยาที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่จะได้รับผลกระทบ และ6.การตรวจสอบว่าสาธารณชนและผู้มีส่วนได้เสียเข้าใจการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท