ผมหงอกก่อนวัย มีวิธีรักษาไหม ป้องกันได้หรือไม่


.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}

ผมหงอกก่อนวัย ปัญหาที่หลายคนพบเจอ แม้ว่าอายุจะยังไม่ถึงวัยกลางคนก็มีผมหงอกหรือผมขาวขึ้นบนศีรษะจนทำให้เสียความมั่นใจ ปัญหานี้สามารถแก้ไขหรือป้องกันได้หรือไม่

ทั้งนี้เส้นผมของเราสร้างมาจาก ‘เซลล์รากผม’ ซึ่งอยู่ลึกลงไปประมาณ 1-2 มิลลิเมตรใต้หนังศีรษะ มีเซลล์ที่ผลิตให้มีแกนผมและเปลือกภายนอกของเส้นผม ในบริเวณรากผมจะมีเซลล์สร้างเม็ดสี โดยคนเอเชียจะมีผมสีดำหรือน้ำตาลเข้ม เพราะมีเม็ดสีที่เรียกว่า ‘ยูเมลานิน’ (Eumelanin) ซึ่งมีสีเข้ม แต่คนที่ผมสีทองมียูเมลานินน้อย และจะมีเซลล์เม็ดสีที่อ่อนกว่า ชื่อว่า ‘ฟีโอเมลานิน’ (Pheomelanin)

เมื่อเซลล์สร้างเม็ดสีเหล่านี้มีความเสื่อม ทำงานช้าลง หรือตายไป และมีการสร้างเซลล์ใหม่มาทำหน้าที่แทน แต่มีปัจจัยบางอย่างที่อาจทำให้เซลล์เสื่อมเร็วกว่าปกติ หรือเมื่อเซลล์ตายแล้วกลับไม่มีเซลล์ใหม่มาทำงานแทน จึงเกิดเป็นภาวะที่เรียกว่า ‘ผมหงอก’ นั่นเอง

ผมหงอกก่อนวัย เกิดจากอะไร

โดยทั่วไปแล้วผมจะเริ่มหงอกเมื่ออายุประมาณ 35 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีผมหงอกก่อนวัย คือ ผู้ที่มีผมหงอกก่อนอายุ 25 ปี ซึ่งสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ได้แก่

  • กรรมพันธุ์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่พบบ่อย
  • สิ่งแวดล้อม เช่น มลภาวะทางอากาศ แสงแดด รังสีอัลตราไวโอเลต
  • พฤติกรรมทำลายสุขภาพ เช่น ความเครียดสะสม ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ซึ่งจะไปเพิ่มสารอนุมูลอิสระที่ไปทำลายเซลล์สร้างเม็ดสีของผม
  • ภาวะขาดวิตามิน-แร่ธาตุบางชนิด เช่น ขาดวิตามินบี 12 ธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี
  • โรคบางชนิด เช่น โรคด่างขาว โรคผมร่วงเป็นหย่อม โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง โรคไทรอยด์

ผมหงอกก่อนวัย รักษาได้ไหม

สำหรับปัญหาผมหงอกก่อนวัย รักษาได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดผมหงอกก่อนวัยด้วย ดังนั้นจึงต้องค้นหาสาเหตุเสียก่อนว่าอะไรทำให้เกิดผมหงอกก่อนวัย เช่น

  • เกิดจากการขาดวิตามิน เมื่อเติมวิตามินเข้าสู่ร่างกายจนภาวะขาดวิตามินดีขึ้น ปัญหาผมหงอกก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
  • เกิดจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคไทรอยด์ การจะรักษาผมหงอกให้หายไปได้นั้น ก็จะขึ้นอยู่กับการรักษาต้นเหตุคือโรคไทรอยด์นั่นเอง
  • แต่ถ้ามาจาก “พันธุกรรม” และการเกิดผมหงอกตามวัย จะไม่สามารถรักษาผมหงอกให้หายขาดได้ หากมีความกังวล ไม่มั่นใจ กลัวคนเห็นผมหงอก อาจต้องใช้วิธีการย้อมสีผมเพื่อปกปิดแทน
ปัญหาผมหงอกก่อนวัยที่มาจากพันธุกรรม ไม่สามารถรักษาได้ แต่สามารถแก้ไขชั่วคราวได้ด้วยการย้อมสีผมเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง
ปัญหาผมหงอกก่อนวัยที่มาจากพันธุกรรม ไม่สามารถรักษาได้ แต่สามารถแก้ไขชั่วคราวได้ด้วยการย้อมสีผมเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง

ดังนั้นคนที่เริ่มมีผมหงอกก่อนวัย ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของการเกิดผมหงอก เพราะสาเหตุบางอย่างสามารถแก้ไขได้ เช่น ภาวะขาดวิตามิน-แร่ธาตุ หรือโรคไทรอยด์ หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมตั้งแต่ระยะแรก ก็อาจทำให้อาการผมหงอกดีขึ้นได้

วิธีป้องกันผมหงอกก่อนวัย

แม้ว่าผมหงอกก่อนวัยในกรณีที่มาจากพันธุกรรมจะไม่สามารถแก้ไขได้ แต่เราก็สามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นตัวเร่งทำให้เกิดผมหงอกก่อนวัยได้อยู่บ้าง

  1. ควรงดสูบบุหรี่ เพื่อลดความเสียหายต่อเซลล์สร้างเม็ดสีในรากผม เนื่องจากมีงานวิจัยพบว่า การสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเกิดผมหงอกก่อนวัย
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยป้องกันการขาดสารอาหารของร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินบี 12 โอเมก้า 3 ธาตุเหล็ก ทองแดง และสังกะสีสูง เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ตับ ไข่ นมไขมันต่ำ ผักใบเขียว ถั่วและธัญพืชชนิดต่างๆ
  3. ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือสงสัยว่ามีอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผมหงอกก่อนวัย เช่น โรคทางพันธุกรรมบางชนิด โรคไพบอลดิซึมกลุ่มอาการวาร์เดนเบิร์ก โรคด่างขาว โรคผมร่วงเป็นหย่อม โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง หรือโรคไทรอยด์ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสม

ข้อมูลอ้างอิง : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลพญาไท

ภาพ : iStock


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *