ยึดเกาะต้นไม้ 14 ชม. หนุ่มถูกน้ำป่าซัด โชคช่วยรอดตาย ไทยยังมีฝนหนัก


.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}

เทศบาลเมืองนครพนมระดมฟื้นฟู กำจัดขยะตามทางระบายน้ำ หลังเจอฝนกระหน่ำท่วมเมืองช่วงกลางดึกวันที่ 6 ก.ย. ต่อเนื่องถึงวันที่ 7 ก.ย. เสริมเครื่องสูบน้ำเตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักซ้ำอีก ส่วนที่กาฬสินธุ์ ชาวบ้านขี่รถจักรยานยนต์กลับจากทำนาจะไปบ้าน ถูกน้ำป่าซัดกระเด็นไปติดค้างอยู่บนต้นไม้นาน 14 ชั่วโมง กว่าจะมีชาวบ้านไปพบและช่วยเหลือจนปลอดภัย ขณะที่จังหวัดยังเฝ้าระวังน้ำท่วม

หลังเกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของจังหวัดนครพนมตั้งแต่ช่วงค่ำวันที่ 6 ก.ย. จนถึงตอนดึกวันเดียวกัน โดยฝนตกหนักแบบฟ้ารั่วเทกระหน่ำนานกว่าชั่วโมงตั้งแต่เวลา 22.00 น. ต่อเนื่องถึงวันที่ 7 ก.ย. ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ชุมชนเขตเทศบาลเมือง บริเวณถนนอภิบาลบัญชา หน้าตลาดสดเทศบาลเมืองนครพนมและถนนบำรุงเมือง มีน้ำท่วมสูงประมาณ 20-30 ซม. ประชาชนที่ขับขี่รถนานาชนิดสัญจรไปมาต้องเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น โดยปริมาณฝนถือว่าตกหนักสุดรอบปี เฉลี่ยสูงกว่า 50 มิลลิเมตร น้ำเอ่อล้นท่วมเพราะระบายลงน้ำโขงไม่ทัน

หลังฝนหยุดตกเทศบาลเมืองนครพนมระดมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบ หาทางระบายน้ำที่เอ่อล้นถนนลงน้ำโขงให้มากที่สุด ป้องกันผลกระทบน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนและย่านเศรษฐกิจ ส่วนระดับน้ำโขง

ล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 5.80 เมตร ห่างจากจุดวิกฤติล้นตลิ่งประมาณ 6 เมตร คือที่ 12 เมตร ถือว่ายังรองรับน้ำจากพื้นที่ต่างๆ รวมถึงลำน้ำสาขาสายหลักได้อีกมาก กระทั่งเช้าวันที่ 7 ก.ย. ระดับน้ำลดเข้าสู่ภาวะปกติและเทศบาลเมืองนครพนมระดมเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบวางแนวทางแก้ไขปัญหา เดินเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ที่ติดตั้งเสริมรวม 6 จุด ระบายน้ำจนทำให้ระดับน้ำลดลงไป พร้อมกำจัดขยะ ทำความสะอาดตามท่อระบายน้ำที่ลงน้ำโขง เนื่องจากเกิดปัญหาขยะ สิ่งปฏิกูล ขวางทางน้ำจนเกิดการอุดตัน ทำให้ระบายลงน้ำโขงไม่ทัน

ส่วนที่ จ.กาฬสินธุ์ เกิดฝนตกหนักเช่นกันและเมื่อช่วงเช้าวันที่ 7 ก.ย. นายธนเสฏฐ์ ชัยสงครามธนทัต นายกเทศมนตรีเมืองกุฉินารายณ์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลเมืองกุฉินารายณ์ นำเรือไปช่วยเหลือนายธงชัย ประกอบแสง อายุ 39 ปี ชาวบ้าน ม.14 ต.บัวขาว อ.กุฉินารายณ์ ที่ติดอยู่บนต้นไม้กลางน้ำที่ท่วมทุ่งนาในหมู่บ้านบัวขาว นานกว่า 14 ชั่วโมง หลังขี่รถจักรยานยนต์กลับจากทุ่งนาจะไปบ้านระหว่างทางถูกกระแสน้ำป่าพัดไปติดกับต้นไม้ ตั้งแต่เวลา 18.30 น.วันที่ 6 ก.ย. นายธงชัยพยายามตะโกนเรียกให้คนช่วย แต่ไม่มีใครได้ยิน จนเช้ามีชาวบ้านไปพบ จึงแจ้งเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือจนออกมาได้อย่างปลอดภัย

ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.กาฬสินธุ์ หลายพื้นที่ยังมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ติดเขาภูพาน มีน้ำป่าไหลลงมาท่วมพื้นที่การเกษตรเป็นบริเวณกว้าง สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานมีน้ำท่วมขังในพื้นที่รวม 4 อำเภอ 5 ตำบล ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตรนาข้าวและถนนประกอบ นายชาณญ์ บุตรวงศ์ นอภ.ห้วยผึ้ง นำเจ้าหน้าที่วางแผนการระบายน้ำและ อบต.นิคมห้วยผึ้ง นำรถไถดึงเศษวัชพืช ขยะ เพื่อเปิดทางระบายน้ำแล้ว ขณะที่นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผวจ.กาฬสินธุ์ กำชับให้ทุกหน่วยงานเฝ้าระวังระดับน้ำ เร่งลงพื้นที่ช่วยเหลือดูแลประชาชนที่เดือดร้อนอย่างเต็มที่ พร้อมให้ผู้นำชุมชนแจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายจากฝนที่ตกลงมาในช่วงนี้ รวมทั้งเฝ้าระวังภัยดิน โคลนถล่มด้วย หากประชาชนประสบภัยน้ำท่วมหรือได้รับความเดือดร้อน แจ้งโทรศัพท์สายด่วนของ ปภ.หมายเลข 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง

ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายอากาศระหว่างวันที่ 7-13 ก.ย.ว่า ช่วงวันที่ 9-13 ก.ย. ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในภาคตะวันออก คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

อนึ่ง พายุโซนร้อน “ยุนยาง” (YUN-YEUNG) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งด้านตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 8-9 กันยายน 2566 โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *