Cell Broadcast Service คืออะไร CBS ทำงานอย่างไร ไทยเตรียมใช้งานจริงภายในปี 2567


Cell Broadcast Service คืออะไร CBS ทำงานอย่างไร จากที่เมื่อปี 2566 เกิดเหตุการณ์กราดยิงพารากอนของเด็กวัย 14 ปี และยังมีเหตุอันตรายอย่างต่อเนื่อง จนเรียกร้องให้มีบริการ เตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือเหมือนที่ญี่ปุ่น เกาหลี หรือประเทศอื่นๆมี ล่าสุด กสทช. เผยระบบ Cell Broadcast Service ระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ ของไทยเผยโฉมออกมาแล้ว โชว์สาธิตทดสอบการแจ้งเตือนในไทยในวันนี้ โดย กสทช. ร่วมกับ AIS สาธิตการทดสอบระบบในครั้งนี้เพื่อให้เห็นว่าระบบ Cell Broadcast Service  ของไทย ทำงานอย่างไร

ภาพ : กสทช.

กสทช. และ AIS สาธิตระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ ด้วยระบบ Cell Broadcast Service ครั้งแรกในไทย สามารถแจ้งเตือนเจาะจงเฉพาะพื้นที่เกิดเหตุด่วน เหตุร้ายได้ พร้อมเชื่อมต่อกับศูนย์บัญชาการกลางของภาครัฐ หวังสร้างความปลอดภัยให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว หลังเกิดเหตุการณ์รุนแรง กราดยิง และภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้ง

Cell Broadcast Service คืออะไร CBS ทำงานอย่างไร

iT24Hrs

ระบบ Cell Broadcast Service เป็นระบบสื่อสารข้อความตรงจากหน่วยงานรัฐไปที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชน สามารถส่งข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องทุกระบบปฏิบัติการที่อยู่ในพื้นที่ครอบคลุมของสถานีฐานนั้น ๆ ในเวลาเดียวกัน  โดยข้อความเตือนภัยจะแสดงบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือแบบแจ้งเตือน Popup  แบบ Near Real Time Triggering

iT24Hrs

การแจ้งเตือน Cell Broadcast Service  มาจากโครงสร้างของระบบ 2 ฝั่ง

    * ฝั่งที่ 1 : ดำเนินการและดูแลโดยศูนย์บัญชาการกลางของภาครัฐ

    * ฝั่งที่ 2 : ดำเนินการและดูแลโดยผู้ให้บริการโครงข่าย AIS , True+Dtac และ NT 

ภาพ : กสทช.

**ข้อดีของระบบ Cell Broadcast Service**

* แจ้งเตือนรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ประชาชนในพื้นที่รับรู้เหตุการณ์ได้พร้อมๆกัน

* การแจ้งเตือนครอบคลุมทั้งพื้นที่เกิดเหตุ 

* ประชาชนรับรู้ได้โดยไม่ต้องดาวน์โหลดแอปเลย 

ภาพ กสทช.

ระบบนี้สามารถส่งข้อความเตือนภัยแบบตรงไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกเครื่องในพื้นที่เกิดเหตุ และเตือนพร้อมกันหมด

ที่ชัดเจนสุดคือ การแจ้งเตือนแผ่นดินไหว และสึนามิ จะแจ้งโดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ส่วนเหตุการณ์อื่นๆนอกจากภัยธรรมชาติ ตอนนี้กระทรวงดิจิทัลกำลังรวบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าหน่วยงานไหนจะมีหน้าที่ประกาศเหตุด่วนเรื่องอะไร 

หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อในการแจ้งเตือนมีดังนี้

  • (หน่วยงานแจ้งเตือนหลัก ) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)
  • (หน่วยงานแจ้งเตือนหลัก ) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งกำลังประสานผู้เกี่ยวข้อง
  • กสทช. ( ในการดูแลพัฒนาระบบแจ้งเตือน )
  • ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย AIS , True (True+DTAC) , NT ( ในการดูแลระบบแจ้งเตือน )
  • กระทรวงมหาดไทย
  • สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • กรุงเทพมหานคร

โดยระบบนี้ใช้งบจากกองทุนบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO)

ภาพ iT24Hrs โดยซ้ายสุดเป็นแจ้งเตือนบน iPhone สวนตรงกลางและขวา เป็นการแจ้งเตือนบน Android แบบ ETMS กับ CMAS

จากการทดสอบพบว่า ไม่ว่าคุณจะใช้เครือข่ายไหน หรือมือถือระบบปฏิบัติการใด จะได้รับข้อความแจ้งเตือน  พร้อมเสียง จากหน่วยงานแจ้งเตือนได้เหมือนกันและพร้อมกัน โดยแจ้งเตือนเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยการแจ้งเตือนจะมาแบบ POP-UP พร้อมเสียงเตือน และมีอ่านข้อความแบบ Text to speech ให้ฟังด้วย รองรับทั้งมือถือเครื่อข่าย 2G , 3G , 4G และ 5G  และแสดงข้อความได้หลายภาษา เบื้องต้นหลักๆคือภาษาไทย อังกฤษ และอาจรองรับภาษาอื่นๆเช่น ภาษาจีน , รัสเซีย ,ญี่ปุ่น เกาหลี รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เมียนมา 

ตอนนี้ระบบพร้อมแล้ว เหลือแค่รอการนำไปใช้งานจริงซึ่งต้องคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะใช้อย่างไร ตั้งเป้าว่าจะใช้งานจริงภายในปี 2567 นี้

cover iT24Hrs 

อ่านบทความและข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ it24hrs.com

Cell Broadcast Service คืออะไร CBS ทำงานอย่างไร ไทยเตรียมใช้งานจริงภายในปี 2567

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตข่าวสาร ทิปเทคนิคดีๆกันนะคะ Please follow us

Youtube it24hrs
Twitter it24hrs
Tiktok it24hrs
facebook it24hrs


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *