FAO ฝึกวิสาหกิจชุมชนใช้เทคโนโลยีลดการสูญเสียอาหาร


องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืนด้านอาหารที่มีคุณภาพให้ประชากรโลกได้มีการรณรงค์ให้ประเทศต่างๆลดการสูญเสียของอาหารที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการผลิต

อาหารเหลือทิ้งจากการบริโภค เนื่องจากพบว่าปัญหาดังกล่าวเป็นอุปสรรคสำคัญต่อเป้าหมายความยั่งยืนด้านอาหาร และเชื่อมโยงไปถึงการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจก 

จากการศึกษาของ FAO ในปี 2562 พบว่าทั่วโลกมีการสูญเสียอาหารระหว่างกระบวนการผลิต หรือช่วงหลังการเก็บเกี่ยวจนเข้าห้างร้านประมาณ 14% คิดเป็นมูลค่า 4 แสนเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (14 ล้านล้านบาท)  และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ประมาณการในปี 2564 ว่าอาหารราว 17% ที่ผลิตทั้งหมดถูกทิ้งขว้างในขั้นตอนการบริโภคจากการตัดสินใจและการทำงานของผู้ขาย ผู้ให้บริการอาหาร และผู้บริโภค

หากรวมการสูญเสียอาหารทั้งในขั้นตอนกระบวนการผลิต และการการเหลือทิ้งจากห้างร้านและการบริโภคของทั้งสองหน่วยงานพบว่า จะมีสัดส่วนรวมถึง 31% หรือ 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตทั้งหมดทั่วโลก ปัญหานี้ส่งผลเสียต่อการพัฒนาะรบบเกษตรอาหารที่ยั่งยืน เพราะทำให้มีการใช้ทรัพยากรน้ำ ที่ดิน พลังงาน  แรงงานและเงินทุนอย่างสิ้นเปลือง ผู้บริโภคได้รับอาหารที่คุณภาพลดลง นอกจากนั้นการกำจัดซากอาหารและอาหารเหลือทิ้งด้วยการถมดินยังทำให้มีปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น นอกจากนั้นการสูญเสียอาหารและอาหารเหลือทิ้งยังทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารและราคาอาหารโดยรวมเพิ่มสูงขึ้น

FAO จึงย้ำความสำคัญของการใช้ วิธีที่ผสมผสานในการลดการสูญเสียอาหารทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ และลดอาหารเหลือทิ้ง ด้วยการผลักดันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในระดับประเทศและในระดับโลกเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน โดยให้ ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม เช่น แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำหรับการตลาด ระบบ ติดตามการแปรรูปอาหารด้วยโทรศัพท์มือถือ วิธีการใหม่ในการทำงานและหลักปฏิบัติที่เหมาะสมในการควบคุมคุณภาพ และลดการสูญเสียอาหารและอาหารเหลือทิ้ง

ในประเทศไทย FAO มีโครงการสนับสนุนและให้คำแนะนำวิสาหกิจแปรรูปอาหาร รายย่อย รายเล็ก และรายกลางเพื่อให้ใช้เครื่องมือในการวัดปริมาณและลดความสูญเสียอาหาร เพราะวิสาหกิจขนาดย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลาง คิดเป็นสัดส่วน 91% ของการแปรรูปอาหารทั้งหมดในประเทศไทย แต่ธุรกิจเหล่านี้ยังขาดความเข้าใจในการลดการสูญเสียอาหาร และอาหารเหลือทิ้ง

ตัวอย่างหนึ่งได้แก่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านบ้านนาเลา ที่จังหวัดสกลนคร ซึ่งแปรรูปและจำหน่ายข้าวกล้องงอกที่เต็มไปด้วยด้วยคุณค่าอาหาร FAO ริเริ่มและดูแลโครงการนี้ โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่น และดำเนินโครงการด้วยความร่วมมือของรัฐบาลไทยและมหาวิทยาลัยมหิดล ในประเทศไทยมีวิสาหกิจขนาดย่อม ขนาดเล็กและขนาดกลาง ทั้งสิ้น 25 แห่งในภาคการผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ โคนม ประมงผลิตภัณฑ์ข้าว และอาหารทานเล่น ที่ FAO กำลังให้การฝึกอบรม

โครงการซึ่งให้การสนับสนุนโดย FAO นี้ ช่วยให้ธุรกิจสามารถระบุจุดอาจเกิดความเสียหายขึ้นกับกระบวนการแปรรูปซึ่งส่วนใหญ่มาจากคุณภาพของวัตถุดิบที่ลดลง ความบกพร่องในกระบวนการแปรรูปอาหาร เช่น การควบคุมอุณหภูมิ ความเป็นกรดด่าง ความชื้น และเวลา ตลอดจนการบรรจุ ผลิตภัณฑ์และหีบห่อในขั้นสุดท้าย

FAO ฝึกหัดธุรกิจให้วัดระดับของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น และแนะนำเทคโนโลยีง่ายๆ เช่นการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิระบบดิจิทัลในขั้นตอนการอบไอน้ำและการตากแห้ง การใช้เครื่องวัดความชื้นเพื่อทำให้ขั้นตอนการตากแห้งเมล็ดพืชเป็นไปอย่างเหมาะสม ตลอดจนการใช้เครื่องปิดบรรจุภัณฑ์ 

นัฐพล ตั้งสุภูมิ เจ้าหน้าที่ดูแลโครงการ จาก FAO กล่าวว่า “ วิสาหกิจขนาดย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลางมีภูมิปัญญาของตนเองซึ่งเป็นนำมาใช้ประโยชน์ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ พวกเขารู้ว่าปัญหาและข้อจำกัดคืออะไร และเต็มใจที่จะทำงานร่วมกับ FAO เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอาหาร”

ณัฐกานต์ ดากาวงค์ ในฐานะประธานและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวกล้องงอกบ้านนาเลา อธิบายถึงขั้นตอนในการผลิตว่า ต้องแช่และหมักข้าวกล้องไว้ข้ามคืนจนต้นอ่อนงอก ก่อนที่จะนำไปนึ่งและตากแห้งให้พอดี

“ถ้าเราตากข้าวน้อยไป ข้าวก็จะเกิดเชื้อรา แต่ถ้าเราตากข้าวนานไป ข้าวก็จะหักระหว่างกระบวนการสีทำให้เราได้ข้าวน้อยลง ตั้งแต่มีโครงการนี้เข้ามา เราเข้าใจกับการลดการสูญเสียอาหารโดยมีเครื่องมือที่ช่วยควบคุมการผลิต ซึ่งทำให้เรามีผลกำไรเพิ่มมากขึ้น” คุณณัฐกานต์กล่าว 

วิสาหกิจชุมชนบ้านนาเลาสามารถลดความเสียหายของข้าวกล้องงอกได้กว่า 450 กิโลกรัมต่อเดือน ซึ่งนับเป็น  1 ใน 3 ของการปริมาณการผลิตทั้งหมดจำนวน 1,500 กิโลกรัมต่อเดือน คิดเป็นจำนวนเงิน 36,000 บาทต่อเดือนที่ลดการสูญเสียรรายบได้ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพและความพยายามลดการสูญเสียอาหาร โครงการเพื่อช่วยลดการสูญเสียอาหารและอาหารเหลือทิ้งมีศักยภาพอย่างมากในการรับมือกับปัญหาซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมามีธุรกิจทั้งสิ้น 25 แห่งในประเทศไทยที่ได้รับประโยชน์จากโครงการและลดการสูญเสียอาหารและอาหารเหลือทิ้ง และ FAO กำลังจัดทำคู่มือทางเทคนิคในภาษาอื่นๆ 

โรซา โรลล์ เจ้าหน้าที่อาวุโสและหัวหน้าทีมการสูญเสียอาหารและอาหารเหลือทิ้ง ฝ่ายอาหารและโภชนาการ ของ FAO อธิบายว่าเทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการลดอาหารสูญเสียระหว่างกระบวนการผลิตและอาหารเหลือทิ้ง ในปัจจุบันธุรกิจแปรรูปอาหารไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือเพื่อบริหารจัดการคุณภาพ เช่นการควบคุมอุณหภูมิและเวลา แม้ว่าจะง่ายต่อการใช้งาน

“โครงการของเราสร้างความแตกต่างอย่างมากด้วยเครื่องมือง่ายๆซึ่งธุรกิจรายย่อยอาจไม่เคยนำมาใช้ เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้ธุรกิจลดการสูญเสียอาหารและอาหารเหลือทิ้ง ช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลตามมา” โรลล์ กล่าว

“FAO ส่งเสริมให้รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนานโยบาย และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับลดการสูญเสียอาหาร การแก้ไขปัญหาในภาคอุตสาหกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจรายย่อย รายเล็ก และรายกลางมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นผู้ผลิตอาหารส่วนใหญ่ให้กับประชากร”

FAO เรียกร้องให้ลดอาหารเหลือทิ้งต่อประชากรลงครึ่งหนึ่งในระดับการค้าปลีกและระดับการอุปโภคทั่วโลก และลดการสูญเสียอาหารในขั้นตอนการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้การลดการสูญเสียอาหารและอาหารเหลือทิ้งมีบทบาทสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงระบบเกษตรอาหาร วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 ขององค์การสหประชาชาติ  

FAO ฝึกวิสาหกิจชุมชนใช้เทคโนโลยีลดการสูญเสียอาหาร

FAO ฝึกวิสาหกิจชุมชนใช้เทคโนโลยีลดการสูญเสียอาหาร


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *