เมื่อต้องขับรถทางไกล ต้องทำอย่างไร


การตรวจเช็คระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ (แบตเตอรี่แบบน้ำ) ให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญต่ออายุการใช้งาน และประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ กรณีเป็นแบตเตอรี่แบบกึ่งแห้ง จะมีช่องบอกประสิทธิภาพของแบตไว้ ซึ่งมักจะเรียกว่า ตาแมว ซึ่งก็แล้วแต่ว่าแบตเตอรี่แต่ละยี่ห้อนั้น จะกำหนดไว้อย่างไร
เช็คน้ำกลั่น
(3) ตรวจเช็คความดันลมยาง ลมยาง เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะส่งผลโดยตรงกับความปลอดภัยในการเดินทาง การตรวจเช็คลมยางให้เหมาะสมตามที่ผู้ผลิตกำหนด ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยการตรวจเช็คลมยาง ท่านเจ้าของรถสามารถตรวจเช็คได้ด้วยตนเอง แต่ต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือเพิ่มเติม คือ อุปกรณ์ตรวจเช็คลมยัง ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ในแผนกประดับยนต์ครับ ซึ่งค่ากลาง ๆ หรือค่ามาตรฐานที่จะใช้กัน และพูดกันติดปาก คือ “เติมลม หน้า 30 หลัง 32” ซึ่ง 30 และ 32 คือความดันลมยาง หน่วยวัดคือ lb/sq.in (ปอนด์ ต่อ ตารางนิ้ว) ซึ่งในคู่มือรถ จะมีข้อแนะนำในการเติมลมยาง ค่าที่ถูกต้องนั้น ถ้าเติมลมขณะยางเย็น มีค่าเท่าไหร่ และถ้าเติมลมขณะยางร้อน ต้องเพิ่ม หรือ ลด ค่าแรงดันลมยางไปเท่าไหร่ ทั้งนี้ ค่าแรงดันลมยางของรถแต่ละคัน ให้เป็นไปตามมาตรฐานผู้ผลิตรถ และผู้ผลิตยางที่ใช้จะดีที่สุดครับ ปัจจุบัน ตามปั้มน้ำมัน จะมีเครื่องเติมลมอัตโนมัติ ซึ่งก็ให้ความแม่นยำค่อนข้างดีทีเดียวครับ หรือ อาจจะใช้บริการตามสถานบริการช่วงล่างและยางรถยนต์ให้ตรวจเช็คให้ก็ได้ครับ

การตรวจเช็คความดันลมยางด้วยตนเอง จากเครื่องมือที่มีขายทั่วไปตามร้านประดับยนต์ หรือ ห้างสรรพสินค้าทั่วไป แต่ถ้าไม่มีความรู้ แนะนำให้ใช้บริการร้านยางจะดีที่สุดครับ
เช็คลมยาง
(4) ตรวจเช็คสภาพความพร้อมของช่วงล่าง ระบบบังคับเลี้ยว จริง ๆ แล้ว การตรวจเช็ครายการนี้ หากทราบกำหนดการเดินทางแน่นอน ควรกระทำก่อนการเดินทางประมาณ 3 – 4 วัน เผื่อกรณีเจอข้อขัดข้อง จะได้มีเวลาในการปรับปรุงแก้ไข และทดสอบการใช้งานเบื้องต้น แต่ถ้าหากเป็นการเดินทางแบบเร่งด่วน ไม่สามารถตรวจเช็คได้ อาจจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการเดินทาง  ได้แก่ ระดับน้ำมันเบรค ต้องอยู่ในระดับที่กำหนด ไม่มีจุดรั่วซึม, ความหนาของผ้าเบรคต้องมีความเหลือตามที่กำหนดหากเหลือเนื้อของผ้าเบรคน้อยเกินไป ให้ทำการเปลี่ยนใหม่, สายอ่อนเบรค หรือ จุดต่อต่าง ๆ ต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่มีรอยแตก หรือ รั่วซึม
(5) ตรวจเช็คไฟส่องสว่าง สัญญาณไฟต่าง ๆ ได้แก่ ไฟหน้า (ไฟสูง และ ไฟต่ำ), ไฟท้าย, ไฟเบรค, ไฟเลี้ยว ให้ครบถ้วน เพื่อความปลอดภัย โดยเฉพาะการเดินทางในช่วงเวลากลางคืน

2. วันเดินทาง ในวันเดินทาง ด้วยนิสัยส่วนตัวของผู้เขียน จะคำนวณระยะเวลาการเดินทาง โดยอ้างอิงข้อมูลเบื้องต้นจากกูเกิ้ล ในการคำนวณระยะเวลาในการผ่านจุดต่าง ๆ ระหว่างเส้นทางไว้แบบคร่าว ๆ ซึ่งอาจจะต้องเผื่อเวลาไว้ด้วย เพราะเส้นทางข้างหน้า อาจจะมีฝน หรือ การก่อสร้างถนน หรือเหตุอื่น ๆ ที่จะทำให้การเดินทางช้าลงได้ ซึ่งในวันเดินทาง ผู้เขียน จะปฏิบัติดังนี้ครับ
(1) เติมน้ำมันรถให้เต็มถัง โดยเติมที่ปั๊มใกล้บ้านที่สุด แล้ว reset ระยะทางให้เริ่มจากศูนย์
(2) ขับรถแบบปกติ ไม่เร่งกระชาก หรือ ออกตัวรถอย่างรวดเร็วจนเกินไป ขับขี่ในลักษณะการเพิ่มความเร็วอย่างช้า ๆ รักษาความเร็วรถให้คงที่ และที่สำคัญ ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ใช้ความเร็วตามที่กดหมายกำหนด คาดเข็มขัดนิรภัย และขับไม่โทร หรือ ไม่แชท
(3) ใช้ช่องทางด้านซ้ายเป็นหลัก เมื่อแซงออกมาพ้นแล้ว ก็จะกลับเข้าช่องทางด้านซ้าย ยกเว้นกรณีที่ช่องทางด้านซ้ายชำรุดหนักมาก หากมองด้านหลังแล้ว ไม่มีรถตามมา หรืออยู่ห่างมาก ๆ ก็อาจจะออกมาอยู่ช่องขวาสุดบ้าง และเมื่อรถที่ตามมาด้านหลัง อยู่ในระยะที่ไกล้กับรถเรา ก็จะให้สัญญาณไฟ แล้วหลบเข้าช่องทางด้านซ้าย กรณีที่ถนนมีมากกว่า 2 ช่องจราจร อาจจะ 3 หรือ 4 ช่องจราจร โดยปกติ ช่องซ้ายสุดจะเป็นช่องสำหรับรถบรรทุก โดยผู้เขียนเอง จะใช้ช่องจราจรช่องที่ 2 หรือ 3 เป็นหลัก (โดยมาก จะใช้ช่องที่ 3) เนื่องจากเราสามารถขับขี่โดยไม่ต้องใช้ความเร็วมากนัก เพื่อเป็นการถนอมรถ ตลอดจนเป็นการประหยัดเชื้อเพลิงครับ
(4) สังเกตที่มิเตอร์วัดระยะทาง ผู้เขียนจะจอดพัก ทั้งคนทั้งรถ โดยกำหนดระยะทางไว้ที่ประมาณ 100 กิโลเมตร บวก-ลบ นิดหน่อย ซึ่งหากใช้เส้นทางเป็นประจำ จะสามารถกำหนดได้ว่าจะแวะพักที่ไหน โดยมากก็จะเป็นตามปั๊มน้ำมัน  แต่ละจุดจะหยุดพักรถประมาณ 10 – 15 นาที เพื่อให้ของเหลว ตลอดจนชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้พักการทำงาน และระบายความร้อนออกบ้าง คนขับ ก็จะได้ผ่อนคลาย ยืดเส้นยืดสาย เติมพลังงานใส่ท้อง หรือจะเติมคาเฟอีน ก็ตามอัธยาศัยครับ

แวะพักรถ พักคน จุดแวะพัก ปั๊มน้ำมัน พื้นที่ อ.เกาะคา จ.ลำปาง ครับ เพื่อเติมพลังให้เดินทางต่อไปครับ

แวะพักรถหากแวะพักรถ หากจะเปิดฝากระโปรงหน้า เพื่อระบายความร้อนสะสม ให้อยู่กับรถ อย่าทิ้งรถไว้ครับ เพราะปัจจุบันมีมิจฉาชีพเยอะมาก
แวะพักรถ
***คำแนะนำ*** หากมีความจำเป็นอาจจะจอดรถติดเครื่องไว้ แล้วสลับกันไปปฏิบัติภารกิจส่วนตัวก็ได้ครับ เช่น มีเด็กเล็กที่อาจจะหลับอยู่ หรือ ผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถลงจากรถได้ ทั้งนี้ ต้องไม่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ท่านอื่น ๆ รอบ ๆ ข้างนะครับ และที่สำคัญ ห้ามเปิดฝากระโปรงหน้าทิ้งไว้เด็ดขาดครับ เพราะอาจมีมิจฉาชีพ ที่พร้อมจะลงมือกับรถเราก็เป็นได้ครับ แต่หากจะเปิดเพื่อระบายความร้อนสะสมในห้องเครื่อง แนะนำว่า ให้มีคนอยู่ที่รถด้วยครับ เพื่อความปลอดภัย
และเมื่อพักรถ พักคน เรียบร้อยแล้ว ก่อนขึ้นรถ เพื่อออกเดินทางต่อ ให้สำรวจความเรียบร้อยรอบ ๆ ตัวรถด้วยครับ ว่ามีสิ่งผิดปกติใด ๆ หรือไม่ เช่น ลักษณะของยางรถ หรือคราบน้ำ คราบน้ำมันที่พื้นบริเวณใต้ท้องรถ และเมื่อขยับรถออกไปแล้ว ให้สังเกตที่บริเวณที่เราจอดรถว่ามีคราบน้ำ หรือ คราบน้ำมันอะไรหรือ เพราะอาจเป็นไปได้ว่า รถเราอาจมีปัญหา หรือ เป็นไปได้ว่าอาจมีมิจฉาชีพดังกล่าว ทำอะไรไว้กับรถเรา  (เรียกกันง่าย ๆ ว่า วางยา…555) พอเราขับรถออกไป โดยมิจฉาชีพจะขับรถตามไปห่าง ๆ  โดยคาดไว้ว่า รถเราต้องเกิดปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแสดงตนเป็นพลเมืองดีเข้าช่วยเหลือ นำรถเข้าซ่อมที่อู่ของตนเอง แล้วคิดค่าซ่อมแซมแพงเกินจริง ซึ่งก็เห็นเป็นข่าวกันอยู่บ่อย ๆ ครับ
(5) การเติมน้ำมัน ซึ่งปกติ การเติมน้ำมัน อยู่ที่ความเคยชินของท่านเจ้าของรถ ว่าชอบเติมน้ำมันในขณะที่ ปริมาณน้ำมันเหลือขีดสุดท้าย หรือ เกือบตก E ซึ่งก็แล้วแต่ท่านเจ้าของรถ ซึ่งเป็นเส้นทางที่เคยใช้ อาจจะสามารถคาดคะเนได้ว่า เส้นทางไปข้างหน้านั้น ปั๊มน้ำมันอยู่ไกลขนาดไหน น้ำมันที่เหลือในถัง มีพอที่จะพารถไปถึงหรือไม่ หากไม่มั่นใจอาจจะแวะปั๊มที่ใกล้ที่สุดก่อน ก็จะปลอดภัยที่สุดครับ
(6) เมื่อถึงจุดหมาย เมื่อใกล้ถึงจุดหมาย หากเป็นไปได้ ควรชลอความเร็ว แล้วขับรถเข้าสู่ที่หมายช้า ๆ เพื่อเป็นการ Cool Down ให้กับรถ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ เมื่อถึงที่หมาย ควรติดเครื่องเดินเบา (ไม่เปิดแอร์) ประมาณ 2-3 นาที ก่อนดับเครื่องยนต์

ทั้งหมดนี้ ถ่ายทอดจากประสบการณ์จริงในการขับรถทางไกลของผู้เขียนเอง ไม่ได้อ้างอิงหลักวิชาการใด ๆ ครับ ซึ่งการเดินทางส่วนใหญ่ จะเป็นการขับรถจากเชียงใหม่ เพื่อไปอบรม ประชุม สัมมนา ในพื้นที่กรุงเทพ และการเดินทางพาครอบครัวไปท่องเที่ยวพักผ่อนทางภาคตะวันออก หรือเป็นการเดินทางกลับภูมิลำเนาในระยะทางไม่ไกลมาก เชียงใหม่ – อุตรดิตถ์ ในปีหนึ่ง ๆ ก็จะเดินทางเกิน 10 ครั้ง ครับ

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าประสบการณ์ที่ถ่ายทอดออกมานี้ คงเป็นประโยชน์แก่ท่านที่กำลังกังวล ในการเดินทางไกลที่ขับรถด้วยตนเองไม่มากก็น้อยครับผม

สำหรับภาพถ่ายในบทความนี้ เป็นภาพรถของผู้เขียนเอง ซึ่งตัวผู้เขียน กับ บุตรชาย ได้ช่วยกันทำการตรวจเช็ครถ เพื่อเตรียมตัวเดินทาง เชียงใหม่ – กรุงเทพ (ไป – กลับ) เนื่องจากเป็นรถเก่า อายุเยอะ ต้องมีการตรวจสภาพกันอย่างละเอียด ประกอบกับ บุตรชายของผู้เขียน กำลังศึกษาในระดับ ปวช. สาขาวิชาช่างยนต์ ซึ่งก็เหมือนเป็นการฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพไปด้วยในตัวครับ

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *